แนวทางการออกแบบและพัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชันสำหรับผู้ใช้งานรถโดยสารสาธารณะ เพื่อเดินทางมาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Creative Arts and Design Innovations
Accepted
ข้อมูลโครงงาน
ชื่อ (ภาษาไทย)
แนวทางการออกแบบและพัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชันสำหรับผู้ใช้งานรถโดยสารสาธารณะ เพื่อเดินทางมาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ชื่อ (ภาษาอังกฤษ)
A DESIGN GUIDELINE FOR PROTOTYPE APPLICATION OF PUBLIC TRANSPORTATION AT KING MONGKUT'S INSTITUTE OF TECHNOLOGY LADKRABANG.
หน่วยงานที่ร่วมมือ / แหล่งทุนที่ได้รับมาสนับสนุน
-
สิ่งที่ต้องการได้รับการสนับสนุนจาก อ.ที่ปรึกษา/คณะ/สถาบัน
-
สิ่งที่ได้จากโครงงาน
สื่อมัลติมีเดีย, บทความวิชาการ/งานวิจัย
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางและพัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชันสำหรับผู้ใช้งานรถโดยสารสาธารณะ เพื่อการวางแผนการเดินทาง และเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถโดยสารสาธารณะแบบต่าง ๆ สำหรับเดินทางมายังสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Experience : UX) และการออกแบบส่วนต่อประสานของผู้ใช้ (User Interface : UI) ที่มีผลต่อผู้ใช้แอปพลิเคชันสำหรับการใช้รถโดยสารสาธารณะ 2) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันรถโดยสารสาธารณะที่ต้องเดินทางมายังสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Experience : UX) และการออกแบบส่วนต่อประสานของผู้ใช้ (User Interface : UI) และผลิตต้นแบบของแอปพลิเคชันสำหรับใช้รถโดยสารสาธารณะเพื่อการเดินทางมายังสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
โดยมีการศึกษาการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้
(User Experience: UX) การออกแบบส่วนต่อประสานของผู้ใช้ (User Interface: UI) รวมถึงการศึกษาตัวอย่างเกี่ยวกับแอปพลิเคชันสำหรับการเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ และศึกษาจุดขึ้นรถสาธารณะโดยรอบสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การศึกษางานวิจัยเรื่องนี้ได้มีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีตัวอย่างการใช้แอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องประกอบการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาในสถาบัน อายุ 18 ถึง 35 ปี เพื่อศึกษาข้อมูลให้ต้นแบบในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ตอบสนองความต้องการ และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานอย่างแท้จริง
ผลการวิจัยพบว่ารถโดยสารสาธารณะที่กลุ่มเป้าหมายมีการใช้งานมากที่สุดคือรถสองแถว, รถไฟ, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์, วินมอเตอร์ไซค์ และรถเมล์ตามลำดับ ผู้ใช้งานมีความกังวลในด้านความปลอดภัยต่าง ๆ และต้องการให้มีการออกแบบฟีเจอร์เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ความมั่นใจใน
การใช้รถโดยสารสาธารณะที่มากขึ้นของนักศึกษา เช่น การส่งตำแหน่งไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือต้องการความช่วยเหลือ และข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับรถโดยสารสาธารณะที่นักศึกษาต้องการ เช่นการคำนวณราคา คำนวณเวลาเดินทาง รอบการเดินรถ จุดขึ้นลงที่เป็นทางการและชัดเจน เส้นทางการเดินรถ การลงทะเบียนคนขับ ข้อเสนอแนะหรือการแนะนำเส้นทาง และเวลาของรถโดยสารสาธารณะที่เข้ามาถึงจุดที่ผู้ใช้งานรออยู่ เป็นต้น
และนำเสนอแนวทางการออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Experience : UX)
จากการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นการจัดลำดับความสำคัญของลักษณะเมนูบันทึกเส้นทางที่ใช้บ่อย เมนูแสดงจุดขึ้นรถใกล้เคียง เมนูที่ค้นหาเส้นทางและเลือกโดยใช้ข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ ของผู้ใช้งานได้เช่น การคำนวณราคาค่าเดินทาง หรือระยะเวลาเดินทาง และเมนูที่สามารถตั้งค่าแบบอักษร ตั้งค่าโหมดสี เพื่อรองรับผู้ใช้งานที่หลากหลาย เนื่องจากการศึกษาความต้องการของผู้ใช้เกี่ยวกับแบบอักษรพบว่ามีความต้องการใช้งานตัวอักษรไทยแบบมีหัว และไม่มีหัวในจำนวนที่เท่ากัน รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการในสีของแอปพลิเคชันที่มีความต้องการทั้งการแสดงผลที่มีสีอ่อน และสีเข้มในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน รวมถึงการออกแบบส่วนต่อประสานของผู้ใช้ (User Interface) โดยออกแบบรูปสัญลักษณ์ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ไม่ทำให้เกิดความสับสน
คำสำคัญภาษาไทย
แอปพลิเคชันเดินทาง, รถโดยสารสาธารณะ, แอปพลิเคชันรถโดยสารสาธารณะ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research aims to study the guidelines and develop a prototype of an application for public transport users to plan their journey and increase safety in using different types of public transport to travel to King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. The objectives are as follows: 1) To study the factors of user experience (UX) and user interface (UI) design that affect the users of the application for using public transport. 2) To study the needs of users of public transport applications who must travel to King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. 3) To present the guidelines for designing the user experience (UX) and user interface (UI) and to produce a prototype of the application for using public transport to travel to King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang.
The research includes a review of the literature on User Experience (UX) and User Interface (UI) design, as well as a look at examples of public transportation applications and pick-up sites near King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. This study is based on qualitative research. There are examples of employing relevant applications during the interview. The target audience is students aged 18 to 35 who will give prototypes for application development to satisfy their requirements. Provide information that is actually useful to users.
The research results found that the public transport vehicles that the target group used the most were the Songthaew (the pick-up truck), train, airport rail link, motorcycle taxi, taxi, and bus, respectively.
Users were concerned about various safety issues and wanted to design features to increase safety and confidence in using public transport vehicles for students, such as sending locations to relevant officials in the event of an emergency or when assistance was needed, and important information about public transport vehicles that students needed, such as calculating prices, calculating travel times, bus schedules, official and clear pick-up and drop-off points, bus routes, driver registration, suggestions or route recommendations, and the time of public transport vehicles arriving at the point where users were waiting, etc.
The guidelines for designing the User Experience (UX) were presented from the analysis of the target group's data, which was a prioritization of the features of the menu for recording frequently used routes, a menu showing nearby pick-up points, a menu for searching for routes and selecting using various user constraints, such as calculating travel prices or travel times, and a menu that could set fonts and color modes to support a variety of users.
This was because the study of user needs for fonts found an equal demand for Thai fonts with looped (Looped font) and without looped (Loopless font), as well as a study of the application's color requirements, which required both light and dark colors to be displayed in approximately equal amounts. This includes the design of the user interface (User Interface) by designing symbols that allow users to access the desired information quickly without confusion.
คำสำคัญภาษาอังกฤษ
Navigation application, Public transportation, Public transportation application.
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Experience : UX) และการออกแบบส่วนต่อประสานของผู้ใช้ (User Interface : UI) ที่มีผลต่อผู้ใช้แอปพลิเคชันสำหรับการใช้รถโดยสารสาธารณะ
2. เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันรถโดยสารสาธารณะที่ต้องเดินทางมายังสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
3. เพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Experience : UX) และการออกแบบส่วนต่อประสานของผู้ใช้ (User Interface : UI) และผลิตต้นแบบของแอปพลิเคชันสำหรับใช้รถโดยสารสาธารณะเพื่อการเดินทางมายังสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ที่มาและความสำคัญ หรือ เหตุผลที่ทำโครงงานนี้
1. ยังไม่มีแอปพลิเคชันสำหรับรถโดยสารสาธารณะเพื่อการเดินทางมาสจล.โดยตรง
(www.condonewb.com ,2564)
2. จากการสำรวจบางแอปพลิเคชันนั้นไม่ ได้รับการเพิ่มเติมข้อมูลที่เป็ นปั จจุบันและไม่ ได้รับการพัฒนา
อย่างต่อเนื่องนั้นก่อให้เกิดความสับสนในผู ้ใช้งานแอปพลิเคชัน (เว็บไซต์ rottuthai.com อัปเดทปี
ล่าสุด 2562)
3. กลุ่มผู้โดยสารมีทัศนคติที่ ไม่ปลอดภัยในการโดยสารรถตู้สาธารณะ (ณิชา สุขวัฒนากรณ์ ,2562)
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงานนี้
1. มีการพัฒนาเกี่ยวกับการออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Experience: UX)
และการออกแบบส่วนต่อประสานของผู้ใช้ (User Interface: UI) เพื่อตอบสนองกลุ่มผู้ใช้งานมากขึ้น
2. นำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานรถโดยสารสาธารณะ
3. เป็นแนวทางการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับสถาบัน หรือภาคธุรกิจรถโดยสารสาธารณะ
Information
ประเภทโครงงาน
Creative Arts and Design Innovations
Tags
โปสเตอร์
KMITL Expo 2025
Cluster 2025
ป. ตรี โครงงานพิเศษ
ปีการศึกษา
2567
วันที่สร้าง
12 กุมภาพันธ์ 2568, 18:20
วันที่แก้ไขล่าสุด
18 กุมภาพันธ์ 2568, 04:48
สร้างโดย
(64602060@kmitl.ac.th)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกโครงงาน
I
นางสาวอัยรัตน์ โอฐกรรม
เจ้าของโครงงาน
K
รศ.ดร.กิตติชัย เกษมศานติ์
ที่ปรึกษาหลัก
หากพบปัญหาในการใช้งานสามารถติดต่อได้ที่ Line Official: @acadkmitl
2023 KMITL Innovation Project. | Version: 2.2.2