
ระบบควบคุมแขนกลอุตสาหกรรมและนิวเมติกส์
Information Technology and AI
Accepted
ข้อมูลโครงงาน
ชื่อคอร์ส
01068104 โครงงาน 1 (PROJECT 1)
ชื่อ (ภาษาไทย)
ระบบควบคุมแขนกลอุตสาหกรรมและนิวเมติกส์
ชื่อ (ภาษาอังกฤษ)
Industrial robotic arm and pneumatic control systems
หน่วยงานที่ร่วมมือ / แหล่งทุนที่ได้รับมาสนับสนุน
คณะวิศวกรรมศาสตร์
สิ่งที่ต้องการได้รับการสนับสนุนจาก อ.ที่ปรึกษา/คณะ/สถาบัน
คอมพิวเตอร์สเปคสูงสำหรับการเขียนโปรแกรมและใช้เทรน AI Vision
สิ่งที่ได้จากโครงงาน
โปรแกรม/ระบบสารสนเทศ, ชิ้นงาน, บทความวิชาการ/งานวิจัย
บทคัดย่อภาษาไทย
โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ด้านระบบนิวเมติกส์และการควบคุมอัตโนมัติ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบัน โดยระบบนิวเมติกส์มีบทบาทสำคัญในกระบวนการผลิตหลายประเภท เช่น การควบคุมเครื่องจักร อุปกรณ์อัตโนมัติ และระบบสายการผลิต อย่างไรก็ตาม ภาควิชาวิศวกรรมวัดคุมไม่มีห้องปฏิบัติการที่รองรับการศึกษาและทดลองเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ เนื่องจากอุปกรณ์เดิมที่เคยใช้เกิดการชำรุดและไม่ได้รับการซ่อมแซม ทำให้นักศึกษาขาดโอกาสในการฝึกฝนทักษะที่สำคัญต่อการทำงานในภาคอุตสาหกรรม คณะผู้จัดทำเห็นถึงความจำเป็นในการฟื้นฟูและพัฒนาห้องปฏิบัติการนิวเมติกส์ให้สามารถตอบโจทย์การเรียนการสอนและการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปริญญานิพนธ์นี้มุ่งเน้นการศึกษาและพัฒนาระบบควบคุมแขนกลอุตสาหกรรมและระบบนิวเมติกส์ ควบคู่ไปกับการบูรณาการเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น PLC (Programmable Logic Controller) และ AI Vision ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานจริงในบริบทอุตสาหกรรม ผลการดำเนินงานในโครงการนี้นอกจากจะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังมุ่งหวังที่จะพัฒนาห้องปฏิบัติการให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับนักศึกษารุ่นปัจจุบันและรุ่นถัดไป รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของนักศึกษาในตลาดแรงงาน พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมการผลิตต่อไปในอนาคต
คำสำคัญภาษาไทย
ระบบนิวเมติกส์
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This Project has been undertaken to address the need for skill development and knowledge enhancement in pneumatic systems and automation control, which are crucial in today’s manufacturing industry. Pneumatic systems play a vital role in various production processes, including machine control, automated devices, and assembly lines. However, the Department of Measurement and Control Engineering currently lacks a laboratory dedicated to the study and experimentation of pneumatic systems due to the deterioration and lack of maintenance of the previously used equipment. This has resulted in students missing the opportunity to practice essential skills required in the industrial sector. The authors of this thesis recognize the necessity of reviving and developing a pneumatic laboratory that can effectively support teaching, learning, and research activities. This project focuses on studying and developing industrial robotic arm control systems and pneumatic systems, integrating modern technologies such as Programmable Logic Controllers (PLC) and AI Vision. These systems are intended to be applicable to real-world industrial contexts. The outcomes of this project are expected to not only enhance the understanding of relevant technologies but also aim to transform the laboratory into a vital learning hub for current and future students. Furthermore, this initiative seeks to improve the competitiveness of students in the job market and support the development of innovations in the manufacturing industry in the years to come.
คำสำคัญภาษาอังกฤษ
Pneumatic systems
AI Vision
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อศึกษาระบบควบคุมแขนกลอุตสาหกรรมและนิวเมติกส์
2. เพื่อศึกษาการทำงานร่วมกันของ PLC และ Dobot
3. เพื่อศึกษาการประยุกต์การใช้งานร่วมกับ AI Vision
4. ประยุกต์การใช้ แว่น MR เพื่อสร้างโฮโลแกรมการทำงานของรระบบควบคุมแขนกลอุตสาหกรรมและนิวเมติกส์
ที่มาและความสำคัญ หรือ เหตุผลที่ทำโครงงานนี้
จากการศึกษาและประสบการณ์ในการฝึกงานของคณะผู้จัดทำ พบว่าระบบนิวเมติกส์และ PLC เป็นองค์ประกอบสำคัญในระบบอุตสาหกรรมยุคใหม่ โดยช่วยควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพในสายการผลิต ในอนาคตเทคโนโลยี AI Vision จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต ด้วยความสามารถในการตรวจจับ วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลภาพอย่างแม่นยำ ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ ลดข้อผิดพลาดในการผลิต และเพิ่มความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับกระบวนการที่ซับซ้อนมากขึ้น
AI Vision สามารถใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อตรวจสอบข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์แบบเรียลไทม์ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และช่วยให้ระบบอัตโนมัติสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง โดยผสานกับ PLC และระบบนิวเมติกส์เพื่อให้เกิดความแม่นยำและการตอบสนองที่รวดเร็ว นอกจากนี้ AI Vision ยังสามารถพัฒนาไปสู่การตรวจสอบกระบวนการผลิตแบบอัจฉริยะ ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงานนี้
1. ได้ศึกษาระบบระบบควบคุมแขนกลอุตสาหกรรมและนิวเมติกส์
2. ได้ศึกษาการทำงานร่วมกันของ PLC และ Dobot
3. ได้ศึกษาการประยุกต์การใช้งานร่วมกับ AI Vision
Information
ประเภทโครงงาน
Information Technology and AI
Tags
ป. ตรี โครงงานพิเศษ
ชิ้นงาน
KMITL Expo 2025
Cluster 2025
ปีการศึกษา
2567
วันที่สร้าง
13 กุมภาพันธ์ 2568, 03:43
วันที่แก้ไขล่าสุด
6 มีนาคม 2568, 02:16
สร้างโดย
กำชัย ยศสาย (65015010@kmitl.ac.th)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีรูปภาพ
สมาชิกโครงงาน
K
นายกำชัย ยศสาย
เจ้าของโครงงาน
N
ผศ.ดร.นรินทร์ ธรรมารักษ์วัฒนะ
ที่ปรึกษาหลัก
C
นายชินวัตร บุญจันทร์
สมาชิกโครงงาน
P
นายปิยะพงษ์ ไพเราะ
สมาชิกโครงงาน
หากพบปัญหาในการใช้งานสามารถติดต่อได้ที่ Line Official: @acadkmitl
2023 KMITL Innovation Project. | Version: 2.2.2