การพยากรณ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยของแต่ละภาคเศรษฐกิจ
Industry 4.0
Accepted
ข้อมูลโครงงาน
ชื่อ (ภาษาไทย)
การพยากรณ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยของแต่ละภาคเศรษฐกิจ
ชื่อ (ภาษาอังกฤษ)
Forecast of Electricity Consumption in Thailand for Each Economic Sector
หน่วยงานที่ร่วมมือ / แหล่งทุนที่ได้รับมาสนับสนุน
-
สิ่งที่ต้องการได้รับการสนับสนุนจาก อ.ที่ปรึกษา/คณะ/สถาบัน
-
สิ่งที่ได้จากโครงงาน
บทความวิชาการ/งานวิจัย
บทคัดย่อภาษาไทย
-
คำสำคัญภาษาไทย
-บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
-
คำสำคัญภาษาอังกฤษ
-วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1) เพื่อเปรียบเทียบหาตัวแบบที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยของแต่ละภาคเศรษฐกิจ
2) เพื่อนำตัวแบบพยากรณ์ไปใช้ในการพยากรณ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยของแต่ละภาคเศรษฐกิจ
ที่มาและความสำคัญ หรือ เหตุผลที่ทำโครงงานนี้
ในปัจจุบันไฟฟ้าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ไฟฟ้านอกจากจะให้แสงสว่างและเพิ่มความสะดวกสบายในชีวิตของมนุษย์แล้ว ยังมีความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนระบบการผลิตในอุตสาหกรรม การคมนาคม การสื่อสารทุกรูปแบบ หากไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เท่าความต้องการของประชากรที่มากขึ้นจะส่งผลให้ประเทศเกิดสภาวะขาดแคลนไฟฟ้าซึ่งจะมีผลกระทบต่อระบบสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ ความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศซึ่งผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจโดยอัตราการเติบโตเฉลี่ยของความต้องการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 0.9 - 1.1 เท่าของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ เมื่อพิจารณาแยกตามภาคเศรษฐกิจ พบว่าปีพ.ศ. 2563 ภาคอุตสาหกรรม ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาคอื่น ๆ มีการใช้ไฟฟ้าคิดเป็นสัดส่วน 43.9% 28.3% 23.5% และ 4.3% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศตามลำดับโดยอุตสาหกรรมอาหารมีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุด รองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะพื้นฐาน อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และพลาสติก (นรินทร์ ตันไพบูลย์, 2564) จากข้อมูลจะพบว่าสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าในแต่ละภาคเศรษฐกิจนั้นแตกต่างกัน ซึ่งแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าในแต่ละภาคส่วนจะแตกต่างกันด้วยเศรษฐกิจ
รายงานสถานการณ์พลังงานไทย ปีพ.ศ. 2565 ระบุว่ามีการผลิตพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 อยู่ที่จำนวน 215,824 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) แบ่งออกเป็นการผลิตจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 32% รับซื้อจากโรงงานไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ 31% โรงงานไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็ก 17% นำเข้าไฟฟ้าจากต่างประเทศ 12% โรงงานไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็กมาก 8% ในขณะที่การใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 197,209 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 โดยการใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 44.9 ซึ่งมีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เกิดจากการผลิตสินค้าที่เพิ่มขึ้นหลังเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สำหรับการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจนั้นมีสัดส่วนร้อยละ 23.3 มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 ซึ่งมาจากการยกเลิกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดการท่องเที่ยวมากขึ้น ส่วนการใช้ไฟฟ้าในภาคครัวเรือนที่มีสัดส่วนร้อยละ 27.2 ปรับลดลงร้อยละ 1.0 จากการที่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนยกเลิกมาตรการทำงานจากที่บ้าน (Work from home) หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย จากรูปที่ 1.1 แสดงปริมาณการใช้ไฟฟ้าตั้งแต่เดือนมกราคม ปีพ.ศ. 2563 จนถึงช่วง 6 เดือนแรกของปีพ.ศ. 2566 จะสังเกตได้ว่าการใช้ไฟฟ้าโดยรวมมีมากขึ้น นั่นหมายถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศมากขึ้น เนื่องจากปริมาณกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาพรวมที่มากขึ้น ทำให้การใช้ไฟฟ้าในภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาคอื่นๆ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
จากรายงานภาพรวมพลังงานรายเดือนของเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 พบว่าการผลิตไฟฟ้าอยู่ที่19,452 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) เพิ่มขึ้น 2.5 % และการใช้ไฟฟ้าอยู่17,780 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) เพิ่มขึ้น 2.8% จากการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกภาคส่วน ยกเว้นภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้าลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า (สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน, 2566)
จากงานวิจัยเปรียบเทียบของศศิประภา ตาลยงค์(2560) ได้ทำศึกษาการเปรียบเทียบวิธีที่ใช้ในการสร้างตัวแบบการพยากรณ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย โดยใช้วิธีวินเทอร์ วิธีอารีมา และวิธีวินเทอร์ที่มีความคลาดเคลื่อนเป็นตัวแบบอารีมา และเกณฑ์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ของแต่ละตัวแบบด้วยค่าเฉลี่ยของค่าสัมบูรณ์เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อน (MAPE) โดยตัวแบบที่เหมาะสมจะให้ค่า MAPE ต่ำที่สุด จากผลการวิจัยพบว่า วิธีอารีมาเป็นวิธีสร้างตัวแบบการพยากรณ์ที่มีความเหมาะสมที่สุด
จากบทความวิจัยของกนกกาญจน์ ศรีสุรินทร์ และคณะ (2565) ได้ทำการศึกษาเรื่องตัวแบบพยากรณ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย โดยเปรียบเทียบวิธีการสร้างตัวแบบการพยากรณ์ทางสถิติ 4 วิธี ได้แก่ วิธีการแยกส่วนประกอบ วิธีการพยากรณ์ของโฮลต์วิธีการพยากรณ์ของวินเทอร์ และวิธีการพยากรณ์ของบอกซ์-เจนกินส์ ตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบการพยากรณ์ด้วยค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (Mean absolute percentase error : MAPE) โดยค่า MAPE ต่ำที่สุดจะบอกถึง วิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุด พบว่าวิธีการพยากรณ์ของวินเทอร์ เป็นวิธีการพยากรณ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เหมาะสมที่สุด
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีความต้องการใช้ไฟฟ้ามากขึ้นและการจัดสรรปริมาณพลังงานไฟฟ้าให้มีเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ในการพยากรณ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยของแต่ละภาคเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วย ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ด้วยวิธีในการสร้างตัวแบบพยากรณ์ 3 วิธีได้แก่ 1) วิธีแยกส่วนประกอบ (Decomposition Method) 2) วิธีการปรับให้เรียบเอ็กซ์โพเนนเชียลแบบโฮลท์-วินเทอร์ (Exponential Smoothing Holt-Winter method) และ 3) วิธีบอกซ์-เจนกินส์ (Box-Jenkins Method) เพื่อที่จะนำผลการศึกษามาใช้ในการเป็นแนวทางการจัดสรรปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในแต่ละภาคเศรษฐกิจ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงานนี้
1) สามารถนำตัวแบบพยากรณ์ที่ได้จากการศึกษาไปใช้ในการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยของแต่ละภาคเศรษฐกิจ
2) สามารถใช้ตัวแบบพยากรณ์ที่ได้จากการศึกษามาช่วยในการวางแผนจัดสรรปริมาณการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในประเทศ
Information
ประเภทโครงงาน
Industry 4.0
ปีการศึกษา
2566
วันที่สร้าง
8 ธันวาคม 2566, 12:33
วันที่แก้ไขล่าสุด
26 กุมภาพันธ์ 2567, 12:03
สร้างโดย
วรรณภัสสร วุทธินิติศาสตริน (63050659@kmitl.ac.th)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีรูปภาพ
สมาชิกโครงงาน
W
นางสาววรรณภัสสร วุทธินิติศาสตริน
สมาชิกโครงงาน
P
ผศ.ดร.พรรณทิพา วาณิชย์จิรัฐติกาล
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
P
นางสาวภัควดี กนิษฐสุต
สมาชิกโครงงาน
S
นางสาวสิรยาภรณ์ สุขสันติกาล
สมาชิกโครงงาน
หากพบปัญหาในการใช้งานสามารถติดต่อได้ที่ Line Official: @acadkmitl
2023 KMITL Innovation Project. | Version: 2.0.11