การพัฒนาการอัดขึ้นรูปกระถางต้นไม้จากผักตบชวา
การพัฒนาการอัดขึ้นรูปกระถางต้นไม้จากผักตบชวา
BCG (Bio-Circular-Green Economy)
Accepted

ข้อมูลโครงงาน

ชื่อ (ภาษาไทย)
การพัฒนาการอัดขึ้นรูปกระถางต้นไม้จากผักตบชวา
ชื่อ (ภาษาอังกฤษ)
DEVELOPMENT OF WATER HYACINTH PLANT POT BY COMPRESSION MOLDING PROCESS
หน่วยงานที่ร่วมมือ / แหล่งทุนที่ได้รับมาสนับสนุน
บริษัท เบสแทค เคมิคอล จำกัด
สิ่งที่ต้องการได้รับการสนับสนุนจาก อ.ที่ปรึกษา/คณะ/สถาบัน
-
สิ่งที่ได้จากโครงงาน
ชิ้นงาน, บทความวิชาการ/งานวิจัย
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาการอัดขึ้นรูปกระถางต้นไม้จากผักตบชวา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำผักตบชวาที่เป็นวัชพืชภายในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเพื่อศึกษาส่วนผสมที่เหมาะสมระหว่างผักตบชวากับกาวมันสําปะหลัง(BESTAK D-545 WD) ที่ส่งผลต่อคุณสมบัติของวัสดุเชิงประกอบโดยทําการศึกษาอัตราส่วนระหว่างกาวมันสําปะหลัง(BESTAK D-545 WD) ต่อผักตบชวาที่ 90:10, 85:15, 80:20, 75:25 และ 70:30 wt% ตามลําดับ จากนั้นทําการทดสอบความต้านทานแรงกดพบว่า อัตราส่วนผสมที่เหมาะสม คือ BESTAK D-545 WD 90 wt% กับ ผักตบชวา 10 wt% โดยได้ ค่าเฉลี่ยของความแข็งแรงของชิ้นงานเท่ากับ 2.33 MPa และสุดท้ายทำการออกแบบแม่พิมพ์ ขึ้นรูปเป็นกระถางต้นไม้เพื่อทดลองใช้งาน
คำสำคัญภาษาไทย
-
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This study was to improve the extrusion of plant pots from water hyacinth. Especially in order to bring water hyacinth into the community to maximize its usefulness and to study the appropriate mixture between water hyacinth and cassava glue (BESTAK D-545 WD) which is the properties of composite materials by means of studying between the glue. Cassava (BESTAK D-545 WD) to water hyacinth at 90:10, 85:15, 80:20, 75:25 and 70:30 wt % according to the sports stadium was extinguished without testing the pressure performance in the mixture ratio. The appropriate one is BESTAK D-545 WD 90 wt% with 10 wt% water hyacinth. The properties of the workpiece can be proved to be equal to 2.33 MPa and finally the design is made. Mold for a plant pot to analyze work.
คำสำคัญภาษาอังกฤษ
-
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อศึกษากระบวนการอัดขึ้นรูป สำหรับนำมาประยุกต์ใช้กับการผลิตกระถางต้นไม้จากผักตบชวา 2. เพื่อทดลองหาอัตราส่วนของกาวและผงผักตบชวาที่เหมาะสมสำหรับการทำกระถางต้นไม้ 3. เพื่อนำผักตบชวาที่เป็นวัชพืชภายในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4. เพื่อสร้างต้นเเบบเเม่พิมพ์สำหรับการอัดขึ้นรูปกระถางต้นไม้ เพื่อให้ชาวบ้านภายในชุมชนสามารถขึ้นรูปเพื่อจำหน่ายได้ง่าย
ที่มาและความสำคัญ หรือ เหตุผลที่ทำโครงงานนี้
ในปัจจุบันผักตบชวาเป็นวัชพืชลอยน้ำที่เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วและมีจำนวนมากในชุมชน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมทางน้ำ และทำให้ขยะหรือสิ่งปฏิกูลต่างๆลอยไปติด ซึ่งมักจะมีการกำจัดทิ้งเป็นประจำ จึงได้มีการนำผักตบชวามาดัดเเปลงให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยนำความรู้การอัดขึ้นรูปที่เรียนมา นำมาประยุกต์ใช้กับการขึ้นรูปวัสดุที่ทำมาจากธรรมชาติ โดยขั้นตอนการผลิตกระถางต้นไม้จากผักตบชวาคือ การนำผักตบชวามาบดให้ละเอียดเเล้วนำมาตากเเดดให้แห้ง เพื่อนำผงของผักตบชวามาผสมกับกาวที่มีส่วนผสมไร้สารเคมีเป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม เพื่อนำมาขึ้นรูปเป็นกระถางต้นไม้ที่สามารถย่อยสลายเเละสามารถเป็นปุ๋ยให้เเก่ต้นไม้ได้
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงานนี้
1. ชาวบ้านภายในชุมชนที่มีผักตบชวาเป็นจำนวนมากสามารถใช้วิธีการอัดขึ้นรูปกระถางต้นไม้จากผักตบชวา เพื่อใช้สำหรับปลูกพืชเองหรือจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ 2. ลดจำนวนวัชพืชที่เป้นขยะภายในชุมชนลง เเล้วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อได้ 3. ลดระยะเวลาและขั้นตอนในการนำต้นไม้ไปปลูกลงดิน 4. การใช้กระถางที่ทำจากผักตบชวา สามารถส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยลดการใช้พลาสติก และวัสดุเคมีที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้
Information
ประเภทโครงงาน
BCG (Bio-Circular-Green Economy)
Tags
KLLC 2024
KMITL Expo 2024
ปีการศึกษา
2566
วันที่สร้าง
31 มกราคม 2567, 08:57
วันที่แก้ไขล่าสุด
1 มีนาคม 2567, 02:26
สร้างโดย
ธนโชติ แนมขุนทด (63010400@kmitl.ac.th)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกโครงงาน
T
นายธนโชติ แนมขุนทด
เจ้าของโครงงาน
K
รศ.ดร.กรรณชัย กัลยาศิริ
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
T
นายฐานุเดช ไพฑูรย์ ณ อยุธยา
สมาชิกโครงงาน
N
นายณัชพล อักษรเจริญสุข
สมาชิกโครงงาน

หากพบปัญหาในการใช้งานสามารถติดต่อได้ที่ Line Official: @acadkmitl

2023 KMITL Innovation Project. | Version: 2.2.2