IIoT Edge Computing สำหรับวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางสู่โรงงานอัจฉริยะ
Industry 4.0
Accepted
ข้อมูลโครงงาน
ชื่อ (ภาษาไทย)
IIoT Edge Computing สำหรับวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางสู่โรงงานอัจฉริยะ
ชื่อ (ภาษาอังกฤษ)
IIoT Edge Computing for SMEs to Smart Factory
หน่วยงานที่ร่วมมือ / แหล่งทุนที่ได้รับมาสนับสนุน
ทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือโครงการบริหารจัดการแผนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีด้านดิจิทัล วช.-บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ (NRCT-NT)
สิ่งที่ต้องการสนับสนุนจาก คณะ/สถาบัน
แหล่งเงินทุนและสถานที่สำหรับตั้ง Lab ทดลอง
สิ่งที่ได้จากโครงงาน
ชิ้นงาน
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ประมวลผลที่ขอบสำหรับไอโอทีภาคอุตสาหกรรม (IIoT Edge Computing) สำหรับใช้งานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยบอร์ดประมวลผล Raspberry Pi Compute Module (CM4) และบอร์ดขยายที่มีพอร์ตมาตรฐานอุตสาหกรรม RS485 ในตัว ร่วมกับซอฟต์แวร์โปรแกรม IoT Design ที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาระบบ IoT ในภาคอุตสาหกรรม (Industrial IoT) ที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากเครื่องมือวัดผ่านการเชื่อมต่อทางเครือข่าย ด้วยการตั้งค่าแบบ No Code และการสร้างหน้าแสดงผล (Data Visualization) ด้วยเครื่องมือที่สามารถจัดวางได้แบบลากแล้ววาง (Drag and Drop) โดยระบบสามารถจัดเก็บ ประมวลผล วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลแบบ Real-time รวมทั้งมีการบริหารจัดการอุปกรณ์ การบริหารจัดการผู้ใช้งาน และการแจ้งเตือน โดยต้นแบบ IIoT Edge Computing ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงในภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ ระบบการตรวจวัดการใช้และวิเคราะห์การใช้พลังงานในอาคาร ระบบการตรวจวัดการทำงานของเครื่องจักร และระบบการตรวจวัดการทำงานของระบบแบบเรียลไทม์
คำสำคัญภาษาไทย
ไอโอทีภาคอุตสาหกรรม
การประมวลผลที่ขอบ
วิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง
แพลตฟอร์ม IoT Design
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research is to develop a prototype of an Industrial IoT (IIoT) Edge Computing device for use in the industrial sector. Hardware consists of the Raspberry Pi Compute Module (CM4) processing board and expansion board with the built-in industry standard RS485 port. While software is the IoT Design program, which is a platform for developing industrial IoT systems to collect data from measuring instruments through network connections with No Code configuration and creating dashboard using drag and drop tools. The system can store, process, analyze, and present data in real-time. The device management, user management, and alarm notification are included in the system. The IIoT Edge Computing prototype can be practically applied in the industrial sector, including energy monitoring and analyzing system in the building, machine monitoring systems, and real-time process monitoring systems.
คำสำคัญภาษาอังกฤษ
Industrial IoT
Edge computing
SMEs
IoT Design platform
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ IIoT Edge Computing ใช้งานร่วมกับโปรแกรม IoT Design ด้วย application ที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการโรงงานขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs)
2. เพื่อรวบรวมความเห็นของผู้ประกอบการโรงงาน SMEs ในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ที่มีต่อโปรแกรม IoT Design ผ่านประสบการณ์การสร้างระบบ IIoT ในโรงงาน
3. สำรวจความต้องการของตลาด IIoT สำหรับโรงงานขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs)
ที่มาและความสำคัญ หรือ เหตุผลที่ทำโครงงานนี้
ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) เป็นโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อผลักดันการเติบโตของรายได้ในประเทศให้สูงขึ้นอย่าง “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” โดยการขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม เทคโนโลยี และการบริการระดับสูง ตามแนวทางที่สอดคล้องกับ Industry 4.0 ที่เป็นการบูรณาการโลกของการผลิตเข้ากับการเชื่อมต่อทางเครือข่ายในรูปแบบ Internet of Things (IoT) เรียกว่า IoT สำหรับภาคอุตสาหกรรม หรือ Industrial IoT (IIoT) ที่ทำหน้าที่จัดเก็บ ประมวลผล และนำเสนอข้อมูลจากเซนเซอร์หรือเครื่องมือวัดที่ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นโรงงานอัจฉริยะที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต และเป็นส่วนสำคัญให้เกิดความได้เปรียบในเชิงแข่งขันทางเศรษฐกิจของชาติ
ปัจจุบัน สำนักงานสถิติแห่งชาติประเมินว่า ประเทศไทยมีสถานประกอบการด้านการผลิตเพียง 2% จากทั้งหมด 453,617 แห่ง เท่านั้นที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและไปได้ไกลถึง Industry 4.0 โดยมากกว่าครึ่งของสถานประกอบการทั้งหมดอยู่ในขั้น Industry 2.0 และจัดอยู่ในกลุ่มของโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ที่มีความพร้อมในการนำ IIoT มาใช้งานน้อยกว่าโรงงานขนาดใหญ่ เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณในการลงทุน หรือขาดความเชื่อมั่นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ ประกอบกับการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ในการพัฒนาและดูแลระบบ ดังนั้นสำหรับโรงงานที่มีงบประมาณจำกัด แต่มีความต้องการใช้ระบบ IIoT อย่างยั่งยืนและประหยัด
จากที่กล่าวมาข้างต้น การสร้างระบบ IIoT ในโรงงานด้วยงบประมาณจำกัด และด้วยบุคลากรในโรงงานเอง สามารถทำได้โดยใช้โปรแกรม IoT Design ที่เป็นแพลตฟอร์ม IIoT ที่สามารถเชื่อมต่อทุกอย่างในระบบเพื่อจัดเก็บ ประมวลผล และนำเสนอข้อมูลได้ในตัว ด้วยการตั้งค่าระบบได้อย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ผู้วิจัยจึงต้องการพัฒนาและปรับปรุงอุปกรณ์ (IIoT Edge Computing) ที่เหมาะสมสำหรับวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางเพื่อนำสู่การพัฒนาสู่โรงงานอัจฉริยะได้ในอนาคต
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงานนี้
1) ต้นแบบ (Prototype) IIoT Edge computing สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) ที่ผ่านการทดสอบใช้งานจริง
2) แนวทางการพัฒนาหน้าแสดงผลการทำงาน (Dashboard) ของเครื่องจักรหรือ application ที่ต้องการของผู้ประกอบการ ได้แก่ การใช้และวิเคราะห์การใช้พลังงาน (Energy management dashboard) การแสดงค่าการทำงานของระบบหรือเครื่องจักรแบบเรียบไทม์ (Realtime monitoring dashboard)
3) แนวทางการพัฒนาอุปกรณ์ IIoT Edge computing ที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ประกอบการ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ออกสู่ตลาดได้ในอนาคต
-
Information
ประเภทโครงงาน
Industry 4.0
Tags
-
ปีการศึกษา
2566
วันที่สร้าง
7 กุมภาพันธ์ 2567, 19:14
วันที่แก้ไขล่าสุด
7 กุมภาพันธ์ 2567, 19:24
สร้างโดย
พรพิมล ฉายรัศมี (pornpimon.ch@kmitl.ac.th)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


สมาชิกโครงงาน
P
รศ.ดร.พรพิมล ฉายรัศมี
หัวหน้าโครงงาน
N
นายนนธวัช เวียงคำ
ผู้ช่วยวิจัย
P
อ.ปิยะ จิตธรรมมาภิรมย์
ผู้ร่วมวิจัย
W
รศ.ดร.วรวิทย์ สมหา
ผู้ร่วมวิจัย
หากพบปัญหาในการใช้งานสามารถติดต่อได้ที่ Line Official: @acadkmitl
2023 KMITL Innovation Project. | Version: 2.2.2