การสร้างระบบไมโครฟลูอิดิกเพื่อจำลองระบบเซลล์ผิวหนังสำหรับการใช้งานทางเภสัชกรรม
การสร้างระบบไมโครฟลูอิดิกเพื่อจำลองระบบเซลล์ผิวหนังสำหรับการใช้งานทางเภสัชกรรม
Healthcare Innovations
Accepted

ข้อมูลโครงงาน

ชื่อ (ภาษาไทย)
การสร้างระบบไมโครฟลูอิดิกเพื่อจำลองระบบเซลล์ผิวหนังสำหรับการใช้งานทางเภสัชกรรม
ชื่อ (ภาษาอังกฤษ)
Fabrication of a microfluidic system to simulate skin cell systems for pharmaceutical applications.
หน่วยงานที่ร่วมมือ / แหล่งทุนที่ได้รับมาสนับสนุน
1.สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณะเทคโนโลยีนวัตกรรมบูรณาการ
สิ่งที่ต้องการได้รับการสนับสนุนจาก อ.ที่ปรึกษา/คณะ/สถาบัน
อยากได้รับการสนับสนุนเงินทุน/ทุน เพื่อการศึกษาภายในอนาคต
สิ่งที่ได้จากโครงงาน
ชิ้นงาน
บทคัดย่อภาษาไทย
การสร้างแบบจำลองผิวหนังบนชิป (Skin-on-a-chip) มีบทบาทสำคัญในการวิจัยด้านการพัฒนายา และเครื่องสำอาง ซึ่งแบบดั้งเดิมมักจะใช้วิธีการสองมิติ (Two-dimensional, 2D) ที่อาศัยการเพาะเลี้ยงเซลล์บนพื้นผิวแบนราบ ทำให้ขาดความซับซ้อนของโครงสร้างผิวหนังและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ที่สมจริง นอกจากนี้ วิธีการดั้งเดิมยังมีข้อจำกัดในการเลียนแบบการไหลเวียนของของเหลวและสารอาหาร ซึ่งส่งผลต่อความแม่นยำในการทดสอบทางเภสัชกรรมและการทำนายผลกระทบของยา ซึ่งทำให้มีการพัฒนาแบบจำลองผิวหนังแบบสามมิติ (Three-dimensional, 3D) ด้วยเทคโนโลยีไมโครฟลูอิดิกแบบใหม่ ช่วยเพิ่มความสมจริงของโครงสร้างผิวหนัง โดยการจำลองทั้งชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) และชั้นหนังแท้ (Dermis) รวมถึงการ ไหลเวียนของของเหลวที่คล้ายคลึงกับสภาวะในร่างกายมนุษย์ การออกแบบระบบสามมิติ (3D) ช่วยให้เซลล์มีการจัดเรียงที่สมจริงมากขึ้น และมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ที่สมจริง ทำให้สามารถเลียนแบบการทำงานของผิวหนังได้ดีกว่า และเพิ่มความแม่นยำในการประเมินผลของสารต่าง ๆ ต่อการตอบสนองของเซลล์ ทั้งในด้านการดูดซึม การอักเสบ และการสมานแผล ดังนั้น การสร้างแบบจำลองผิวหนัง แบบสามมิติ (3D) ไม่เพียงแต่จะช่วยแก้ไขปัญหาของวิธีการดั้งเดิมแต่ยังเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาแบบจำลองที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทดสอบยาและผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
คำสำคัญภาษาไทย
แบบจำลองผิวหนังบนชิป, โฟโตลิโธกราฟี, ระบบของไหลจุลภาค, ชั้นหนังกำพร้า, ชั้นหนังแท้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The development of skin-on-a-chip models plays a crucial role in research for drug and cosmetic development. Traditional approaches often utilize two-dimensional (2D) methods that rely on culturing cells on flat surfaces, resulting in a lack of complexity in skin structure and realistic cell interactions. Moreover, traditional methods have limitations in mimicking fluid flow and nutrient circulation, which affects the accuracy of pharmaceutical testing and the prediction of drug effects. This has led to the advancement of three-dimensional (3D) skin models using new microfluidic technology, enhancing the realism of skin structure by replicating both the epidermis and dermis layers, as well as simulating fluid flow similar to physiological conditions in the human body. The design of 3D systems allows for more realistic cell arrangement and interactions, enabling better simulation of skin functions and increasing the accuracy in evaluating the effects of various substances on cell responses, including absorption, inflammation, and wound healing. Therefore, the development of three-dimensional (3D) skin models not only addresses the limitations of traditional methods but also represents a significant step forward in creating models that can be effectively applied in drug testing and pharmaceutical product development.
คำสำคัญภาษาอังกฤษ
Skin on a chip, photolithography, microfluidic systems, epidermis, dermis
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อศึกษาการสรางและออกแบบระบบไมโครฟลูอิดิกด้วยกระบวนการแม่พิมพ์แบบอ่อน 2. เพื่อศึกษาการมีชีวิตอยู่ของเซลล์ผิวหนังภายในชิป 3. เพื่อศึกษาการจำลองผิวหนังด้วยระบบไมโครฟลูอิดิก
ที่มาและความสำคัญ หรือ เหตุผลที่ทำโครงงานนี้
ในปัจจุบัน โรคผิวหนังเป็นปัญหาทางสุขภาพที่พบได้อย่างแพร่หลายทั่วโลก ทั้งโรคผิวหนังอักเสบ โรค สะเก็ดเงิน และมะเร็งผิวหนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออายุของประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น ทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคผิวหนังที่ต้องได้รับการรักษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตลาดโลกในการนำส่งยาเติบโต ส่งผลให้เกิดความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมที่สามารถรักษาและบำรุงผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนาระบบการส่งยาเข้าสู่ผิวหนัง (Transdermal Drug Delivery System) ที่สามารถตอบสนองต่อการรักษาโรคเฉพาะทางหรือการใช้ในเครื่องสำอางได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม กระบวนการทดสอบยาและเครื่องสำอางในปัจจุบันยังคงพึ่งพาการทดลองในสัตว์ (Animal Testing) ซึ่งนอกจากจะเป็นที่ถกเถียงในด้านจริยธรรมแล้ว ยังอาจไม่สามารถสะท้อนการตอบสนองที่เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์ได้อย่างแม่นยำ ดังนั้น การพัฒนาระบบที่สามารถจำลองสภาพแวดล้อมของผิวหนังมนุษย์ในห้องปฏิบัติการจึงกลายเป็นที่ต้องการอย่างมาก ซึ่งจะช่วยให้สามารถทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาและผลิตภัณฑ์ทางเครื่องสำอางได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการทดสอบในสัตว์ โดยระบบไมโครฟลูอิดิก (Microfluidic System) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูงในการจำลอง ระบบเซลล์ผิวหนัง เนื่องจากมีความสามารถในการเลียนแบบสภาพแวดล้อมทางสรีรวิทยาได้อย่างแม่นยำ โดยการควบคุมการไหลของของเหลวในระดับไมโครเมตร ซึ่งช่วยให้สามารถจำลองการทำงานของชั้นต่าง ๆ ของผิวหนังได้อย่างใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมภายในร่างกายจริง นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการศึกษาการแทรก ซึมของสารเข้าสู่ผิวหนัง การปลดปล่อยยา และการโต้ตอบระหว่างเซลล์ผิวหนังกับสารเคมีได้ในระดับที่ ละเอียดและแม่นยำ การสร้างระบบไมโครฟลูอิดิกเพื่อจำลองระบบเซลล์ผิวหนัง จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทางเภสัชกรรม โดยเฉพาะในการพัฒนายาที่มีการนำส่งผ่านผิวหนัง รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย นอกจากนี้ การสร้างระบบดังกล่าวยังมีศักยภาพในการลดการพึ่งพาการทดสอบในสัตว์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ดังนั้น โครงงานพิเศษนี้จึงได้นำเทคโนโลยีของไหลจุลภาคมาประยุกต์เพื่อสร้างและพัฒนาระบบไมโครฟลูอิดิก โดยทำงานออกแบบและสร้างลวดลายด้วยวิธีการแม่พิมพ์แบบอ่อน (Soft lithography) และใช้ Polydimethylsiloxane (PDMS) เป็นวัสดุที่ทำการเพาะเลี้ยงเซลล์ภายใน ที่สามารถจำลองสภาพแวดล้อมของผิวหนังมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการบูรณาการเซลล์ผิวหนังชนิดต่าง ๆ เช่น เคราติโนไซต์ (Keratinocytes) และไฟโบรบลาสต์ (Fibroblasts) เพื่อจะศึกษาการทำงานและการตอบสนองของผิวหนังต่อยาหรือสารเคมี โดยหวังว่างานวิจัยนี้จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมและเครื่องสำอางในอนาคต
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงานนี้
ประโยชน์ที่คาดหวังว่าจะได้ระบจากโครงงานนี้ คือ คาดหวังว่าสามารถที่จะเพาะเลี้ยงเซลล์ผิวหนังภายในอุปกรณ์/ชิป นี้ได้ และอีกทั้งการจำลองผิวหนังโดยมีการไหลด้วยระบบไมโครฟลูอิดิก
Information
ประเภทโครงงาน
Healthcare Innovations
Tags
ชิ้นงาน
KMITL Expo 2025
Cluster 2025
ป. ตรี โครงงานพิเศษ
ปีการศึกษา
2567
วันที่สร้าง
12 กุมภาพันธ์ 2568, 02:19
วันที่แก้ไขล่าสุด
12 กุมภาพันธ์ 2568, 07:14
สร้างโดย
พรปรียา สงวนแสง (64110018@kmitl.ac.th)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกโครงงาน
P
นางสาวพรปรียา สงวนแสง
เจ้าของโครงงาน
S
ผศ.ดร.สากล ระหงษ์
ที่ปรึกษาหลัก

หากพบปัญหาในการใช้งานสามารถติดต่อได้ที่ Line Official: @acadkmitl

2023 KMITL Innovation Project. | Version: 2.2.2