การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการใช้บอร์ดเกมการทำเกษตรผสมผสานของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการใช้บอร์ดเกมการทำเกษตรผสมผสานของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
Education and Learning Technologies
Accepted

ข้อมูลโครงงาน

ชื่อ (ภาษาไทย)
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการใช้บอร์ดเกมการทำเกษตรผสมผสานของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ชื่อ (ภาษาอังกฤษ)
THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACHIEVEMENT THE USE OF THE INTEGRATED FARMING SYSTEM BOARD GAME FOR THIRD-YEAR VOCATIONAL CERTIFICATE STUDENTS AT RATCHABURI COLLEGE OF AGRICULTURE AND TECHNOLOGY
หน่วยงานที่ร่วมมือ / แหล่งทุนที่ได้รับมาสนับสนุน
-
สิ่งที่ต้องการได้รับการสนับสนุนจาก อ.ที่ปรึกษา/คณะ/สถาบัน
ทุนในการพัฒนาบอร์ดเกมให้มีคุณภาพเทียบเท่าสินค้าในตลาด
สิ่งที่ได้จากโครงงาน
ชิ้นงาน
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบอร์ดเกมสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการเกษตรผสมผสาน และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ที่ได้ใช้บอร์ดเกมดังกล่าวในการเรียนรู้ โดยมีเครื่องมือในการวิจัยได้แก่ บอร์ดเกมที่พัฒนาขึ้นด้วย Educational Boardgame Design Canvas มีลักษณะเป็นเกมวางแผน กระดานเกม 5 แผ่น การ์ดจำนวน 166 ใบ แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ การ์ดสุ่มสถานการณ์ จำนวน 30 ใบ การ์ดแอคชันพิเศษ จำนวน 60 ใบ การ์ดตัวละคร จำนวน 16 ใบ และการ์ดการผลิต จำนวน 60 ใบ โทเคนทรัพยากร จำนวน 180 โทเคน 6 ประเภท ได้แก่ โทเคนน้ำจำนวน 60 โทเคน โทเคนดิน จำนวน 60 โทเคน โทเคนผลผลิตจากพืช จำนวน 45 โทเคน โทเคนผลผลิตจากสัตว์ จำนวน 45 โทเคน โทเคนผลผลิตจากสัตว์น้ำ จำนวน 45 โทเคน และ โทเคนเงิน จำนวน 45 โทดคน ลูกเต๋า จำนวน 1 ลูกและแผ่นช่วยเล่น 5 แผ่น ที่จำเป็นในการเล่น ซึ่งเกมนี้เน้นให้ผู้เล่นวางแผนการทำเกษตรผสมผสานเพื่อให้ได้ผลผลิตและคะแนนความสำเร็จสูงสุด ภายใต้เงื่อนไขของเกมและสถานการณ์จำลองที่เกิดขึ้น แบบทดสอบก่อนและหลังการใช้บอร์ดเกม และแบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนหลังใช้บอร์ดเกมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนใช้บอร์ดเกมอยู่ที่ 6.54 คะแนน และหลังใช้บอร์ดเกมเพิ่มขึ้นเป็น 17.71 คะแนน นอกจากนี้ การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนการสอนด้วยบอร์ดเกมพบว่ามีระดับความพึงพอใจในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.45) โดยรายการที่ได้รับคะแนนสูงสุด ได้แก่ การที่ผู้สอนให้ทำแบบทดสอบหลังเรียน (ค่าเฉลี่ย 4.69) และการใช้วิธีการสอนที่น่าสนใจและหลากหลาย (ค่าเฉลี่ย 4.66)
คำสำคัญภาษาไทย
บอร์ดเกม
การเกษตรผสมผสาน
วิทยาลัยเกษตรเเละเทคโนโลยี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
ความพึงพอใจของนักเรียน
Educational Boardgame Design Canvas
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This study aims to develop a board game for teaching Integrated Farming System and to examine the learning achievement of third-year vocational certificate students at Ratchaburi College of Agriculture and Technology who used the board game as a learning tool. The research instruments included a board game developed using the Educational Boardgame Design Canvas. The board game is a strategic planning game consisting of five game boards, and 166 cards categorized into four types: 30 event cards, 60 special action cards, 16 character cards, and 60 production cards. It also includes 180 resource tokens of six kinds: 60 water tokens, 60 soil tokens, 45 plant product tokens, 45 animal product tokens, 45 aquatic product tokens, and 45 currency tokens. Additional components include one die and five player aid sheets. The game emphasizes planning and decision-making in integrated farming to maximize production and achievement points under game conditions and simulated scenarios. Research tools also included pre-and post-tests and a satisfaction questionnaire. The results indicated that students’ average scores significantly increased at the .05 level after using the board game, with the average pre-test score at 6.54 and the post-test score rising to 17.71. Additionally, an analysis of student satisfaction with board game-based learning revealed a high level of satisfaction (mean score = 4.45). The highest-rated aspects were the teacher’s implementation of post-tests (mean score = 4.69) and the engaging and diverse teaching methods used (mean score = 4.66).
คำสำคัญภาษาอังกฤษ
Board Game
Integrated Farming System
College of Agriculture and Technology
Learning Achievement
Pre- and post-tests
Student Satisfaction
Educational Boardgame Design Canvas
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อพัฒนาบอร์ดเกมในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการเกษตรผสมผสาน 2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเกษตรผสมผสานของผู้เรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ที่ได้ใช้บอร์ดเกมเรื่องการทำเกษตรผสมผสาน
ที่มาและความสำคัญ หรือ เหตุผลที่ทำโครงงานนี้
ในปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังแพร่หลายมากขึ้นในหลายภาคส่วน รวมถึงการศึกษา แอปพลิเคชัน AI กำลังกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ส่วนบุคคล การประเมินด้วยคอมพิวเตอร์ ระบบการศึกษาอัจฉริยะ หรือการสนับสนุนคณาจารย์ผู้สอน แอปพลิเคชันเหล่านี้ให้การสนับสนุนที่ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายลดลงและผลการเรียนรู้ดีขึ้น Chatbots เป็นแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งสามารถเลียนแบบการโต้ตอบการสนทนาของมนุษย์ได้ พวกมันทำงานโดยการประเมินบริบทของการสนทนาและหาคำตอบที่คิดว่าเหมาะสม พวกมันสามารถตอบคำถามต่างๆ ได้ เนื่องจากได้รับการสอนโดยใช้ชุดข้อมูลทางภาษาขนาดใหญ่ องค์กรการศึกษามากมาย ตั้งแต่โรงเรียนประถมและมัธยมศึกษาไปจนถึงมหาวิทยาลัยและโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพ สามารถได้รับประโยชน์จากการใช้แชทบอท เช่น ChatGPT และ Google Bard ในการศึกษา นักเรียนอาจพึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไป ซึ่งอาจขัดขวางทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อมูลที่ผิดพลาดและเกิดการลอกเลียนแบบหรือโกง (Gill, et al., 2024: 19-23) ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 เน้นให้ผู้สอนจัด การศึกษาโดยผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้น วิธีการจัดการเรียนรูในปัจจุบันจึงควรปรับไปตาม แนวการจัดการศึกษาดังกล่าว โดยนําเอาแนวคิดของการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) มาปรับใช้เพื่อให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ เป็นผู้ลงมือกระทำด้วยตนเองหรือมีส่วน ร่วมในการเรียนรู้อย่างตื่นตัว ผู้เรียนต้องเป็นผู้สร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเอง ได้ใช้ความรู้และทักษะผ่าน การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้อํานวยความสะดวกสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ เอื้อต่อการเรียนรู้ วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามสภาพจริง (วัชรพล วิบูลยศริน, 2561) ซึ่งวิธีการสอนโดยการใช้เกมจัดได้ว่าเป็นการสอนในรูปแบบการสอนเชิงรุก (Active Learning) อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด วิธีการสอนโดยใช้เกมนี้เป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ อย่าง สนุกสนานและท้าทายความสามารถ โดยผู้เรียนเป็นผู้เล่นเกมเอง ซึ่งเป็นการจําลองสถานการณ์ทำให้ ได้รับประสบการณ์ตรงเป็นวิธีการการที่เปิดโอกาสใหผู้เรียนมีส่วนร่วมสูง ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนเรียนเล่นตามกฎกติกาและนําเนื้อหา และข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่น และผลการเล่นเกมของผู้เรียนมาใช้ในการอภิปรายเพื่อสรุปการเรียนรู้ (ทิศนา แขมมณี, 2552) การนำบอร์ดเกมมาใช้ร่วมกับการเรียนการสอนนั้น จะสามารถให้ทั้งความสนุก การลุ้นอย่างตื่นเต้น และการเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ รอบด้านได้เป็นอย่างดี ทั้งยังผสานความสัมพันธ์กันภายในชั้นเรียนปรับปรุงและเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และให้การตัดสินใจร่วมกัน สร้างแรงจูงใจของผู้เข้าร่วม และส่งเสริมการเรียนรู้ การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าบอร์ดเกมเป็นการแก้ปัญหาทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับกระบวนการ เรียนรู้ต่างๆ ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก และคณะ (2564 : 12) ในการจัดการเรียนการสอนวิชาการเกษตรผสมผสานพบว่านักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี พบว่าในกายรทำงานและการทำแบบฝึกหัดนักเรียนส่วนใหญ่มักจะใช้ Chat GPT ในการค้นหาข้อมูลทำให้ในบางครั้งนักเรียนจะได้รับข้อมูลเนื้อหาที่ไม่ตรงกับที่สอนและเกิดความสับสนในการเรียน ไม่สามารถเข้าใจบทเรียนการเรียนการสอนที่ผ่านมา ที่มีเนื้อหาในการเลือกทำการเกษตรผสมผสาน และผู้เรียนขาดความกระตือรือร้นและความสนใจในการเรียนในภาคทฤษฎี เนื่องจากในการทำงานและปฏิบัติงานต่างๆ นักเรียนพึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไป และขาดกระบวนการวิเคราะห์ ดังนั้นผู้วิจัยจึงทำการวิจัยนี้ขึ้นมาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการใช้บอร์ดเกมในรายวิชาการเกษตรผสมผสาน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงานนี้
1. ผู้วิจัยได้สื่อบอร์ดเกมที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการเกษตรผสมผสาน 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเกษตรผสมผสานของผู้เรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 สูงขึ้น
Information
ประเภทโครงงาน
Education and Learning Technologies
Tags
ชิ้นงาน
KMITL Expo 2025
Cluster 2025
ป. ตรี โครงงานพิเศษ
ปีการศึกษา
2567
วันที่สร้าง
17 กุมภาพันธ์ 2568, 06:52
วันที่แก้ไขล่าสุด
20 กุมภาพันธ์ 2568, 05:18
สร้างโดย
ณัฐพร นาคสุข (64030054@kmitl.ac.th)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีรูปภาพ
สมาชิกโครงงาน
N
นายณัฐพร นาคสุข
เจ้าของโครงงาน
S
ผศ.ดร.ศราวุธ อินทรเทศ
ที่ปรึกษาหลัก

หากพบปัญหาในการใช้งานสามารถติดต่อได้ที่ Line Official: @acadkmitl

2023 KMITL Innovation Project. | Version: 2.2.2