
ระบบคัดแยกขยะ
Smart Cities and Urban Solutions
Accepted
ข้อมูลโครงงาน
ชื่อคอร์ส
Project School of Engineering
ชื่อ (ภาษาไทย)
ระบบคัดแยกขยะ
ชื่อ (ภาษาอังกฤษ)
Garbage sorting Systems
หน่วยงานที่ร่วมมือ / แหล่งทุนที่ได้รับมาสนับสนุน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สิ่งที่ต้องการได้รับการสนับสนุนจาก อ.ที่ปรึกษา/คณะ/สถาบัน
-
สิ่งที่ได้จากโครงงาน
โปรแกรม/ระบบสารสนเทศ, ชิ้นงาน, บทความวิชาการ/งานวิจัย
บทคัดย่อภาษาไทย
หัวข้อโครงงานที่นำเสนอคือระบบคัดแยกขยะ (Garbage Sorting Systems) จุดประสงค์เพื่อศึกษาการทำงานและพัฒนาระบบคัดแยกขยะที่สามารถตรวจจับประเภทของขยะได้อย่างอัตโนมัติ โดยใช้เซ็นเซอร์ Proximity ในการแยกประเภทของขยะที่เป็นวัตถุโลหะและอโลหะ รวมถึงใช้เซ็นเซอร์ Ultrasonic ในการตรวจสอบปริมาณขยะภายในถัง หากปริมาณขยะเกินกำหนด ระบบจะส่งการแจ้งเตือนไปยังอุปกรณ์สื่อสารที่เชื่อมต่อกับระบบ เช่น สมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ การทำงานของระบบถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะ ลดภาระการคัดแยกขยะด้วยมือ และส่งเสริมการรีไซเคิล โดยสามารถนำระบบนี้ไปประยุกต์ใช้ในสถานที่ต่างๆ เช่น สถานศึกษา หรือสถานที่สาธารณะ เพื่อช่วยลดปริมาณขยะที่ไม่ถูกแยกอย่างถูกต้อง และเพิ่มโอกาสในการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
คำสำคัญภาษาไทย
-บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The presented project topic is Garbage Sorting Systems. The purpose is to study the operation and develop a waste sorting system that can automatically detect the type of waste using a proximity sensor to separate the types of metal and non-metal waste, as well as an ultrasonic sensor to check the amount of waste in the bin. If the amount of waste exceeds the specified amount, the system will send a notification to the communication device connected to the system, such as a smartphone or computer. The operation of the system is designed to increase the efficiency of waste management, reduce the burden of manual waste sorting, and promote recycling. This system can be applied in various places, such as educational institutions or public places, to help reduce the amount of waste that is not properly separated and increase the opportunity to reuse waste.
คำสำคัญภาษาอังกฤษ
-วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อศึกษาและเรียนรู้อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำโครงงาน
2. เพื่อศึกษาการทำงานของเซ็นเซอร์ที่ใช้และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับโครงงาน
3. ฝึกการคิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์
4. เพื่อกำหนดการทำงานของระบบคัดแยกขยะให้สามารถทำงานตามข้อกำหนด
ที่มาและความสำคัญ หรือ เหตุผลที่ทำโครงงานนี้
เนื่องจากทางภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มีจุดมุ่งหมายให้นักศึกษาภายในภาควิชามีความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยในการเสริมสร้างการเรียนรู้ควบคู่กับทฤษฎี และยังมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันอย่างมากเพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ เนื่องจากในปัจจุบันในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมได้มีการนำเอาอุปกรณ์ที่มีความทันสมัยเข้ามาใช้งานมากขึ้นโดยนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์
โครงงานนี้ประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์ Proximity และเซ็นเซอร์ Ultrasonic ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตรวจจับ คัดแยกวัตถุประเภทโลหะ อโลหะและวัดตรวจปริมาณขยะภายในถังขยะ เพื่อให้ชิ้นงานสามารถทำงานได้ตามขอบเขตที่กำหนด ซึ่งเครื่องคัดแยกขยะจะทำงานเมื่อมีการทิ้งขยะลงถัง เซ็นเซอร์จะทำการแยกประเภทของขยะตามที่ได้กำหนดไว้ จากนั้นจะมีการตรวจสอบปริมาณขยะภายในถัง หากปริมาณขยะเกินกำหนด ระบบจะส่งการแจ้งเตือนไปยังอุปกรณ์สื่อสารที่เชื่อมต่อกับระบบ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงานนี้
1. สามารถเข้าใจการทำงานของเซ็นเซอร์ Proximity และเซ็นเซอร์ Ultrasonic ได้
2. สามารถทำการแยกขยะประเภทโลหะกับอโลหะได้
3. สามารถทำการตรวจสอบปริมาณขยะภายในถัง และส่งการแจ้งเตือนไปยังอุปกรณ์สื่อสารที่เชื่อมต่อกับระบบได้
4. สามารถเข้าใจหลักการทำงานของเซ็นเซอร์กับโค้ดโปรแกรม
5. สามารถออกแบบวงจร บล็อกไดอะแกรมและการใช้โค้ดโปรแกรมในการทำงาน
6. สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆต่อไปได้
Information
ประเภทโครงงาน
Smart Cities and Urban Solutions
Tags
ป. ตรี โครงงานพิเศษ
ชิ้นงาน
KMITL Expo 2025
Cluster 2025
ปีการศึกษา
2567
วันที่สร้าง
11 กุมภาพันธ์ 2568, 15:36
วันที่แก้ไขล่าสุด
5 มีนาคม 2568, 02:56
สร้างโดย
ฟิรดาว กะลูแป (64010638@kmitl.ac.th)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีรูปภาพ
สมาชิกโครงงาน
F
นางสาวฟิรดาว กะลูแป
เจ้าของโครงงาน
ว
ผศ.ดร.วีระ เพ็งจันทร์
ที่ปรึกษาหลัก
A
นางสาวอัสลีณาร์ มูนะ
สมาชิกโครงงาน
หากพบปัญหาในการใช้งานสามารถติดต่อได้ที่ Line Official: @acadkmitl
2023 KMITL Innovation Project. | Version: 2.2.2