thumbnail

ระบบตรวจวัดและติดตามระดับน้ำด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึกบนพื้นฐานอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

Smart City
Accepted

ข้อมูลโครงงาน
ชื่อ (ภาษาไทย)
ระบบตรวจวัดและติดตามระดับน้ำด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึกบนพื้นฐานอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
ชื่อ (ภาษาอังกฤษ)
WATER LEVEL MESUREMENT AND MONITORING SYSTEM USING DEEP LEARNING BASED ON THE INTERNET OF THINGS.
หน่วยงานที่ร่วมมือ / แหล่งทุนที่ได้รับมาสนับสนุน
ทุนจากทางคณะ
สิ่งที่ต้องการได้รับการสนับสนุนจาก อ.ที่ปรึกษา/คณะ/สถาบัน
-ช่องทางการเข้าถึงบทความและวิจัยที่จำเป็นต่อโครงงานพิเศษ -อยากให้อาจารย์ที่ปรึกษาและคณะชี้แนะขั้นในการทำโครงงานอย่างละเอียด เช่นกำหนดการสอบโปรเจค หรือ สิ่งที่นักศึกษาต้องเตรียมพร้อมก่อนส่งโปรเจค
สิ่งที่ได้จากโครงงาน
ชิ้นงาน, บทความวิชาการ/งานวิจัย
บทคัดย่อภาษาไทย
โครงงานพิเศษฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things , IOT) “ในการตรวจวัดและติดตามระดับน้ำด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึกบนพื้นฐานอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” ซึ่งเป็นการบูรณาการเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันมาช่วยในการติดตามและป้องกัน และพัฒนาระบบปฏิบัติการให้มีความความยืดหยุ่นและเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว โครงงานพิเศษนี้จึงนำระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งเข้ามาปรับใช้ เพื่อการติดตามระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลง โดยรับข้อมูลผ่านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และส่งข้อมูลที่ได้รับไปยังระบบคลาวด์ (Cloud) เพื่อบันทึกข้อมูลของระดับน้ำและนำไปวิเคราะห์และพยากรณ์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและน้ำแล้ง อันนำไปสู่การรับมือป้องกันและลดผลกระทบดังกล่าว
คำสำคัญภาษาไทย
ระบบคลาวด์
ไอโอที
บริหารจัดการน้ำ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This special project aims to apply the Internet of Things (IOT) system “to water level measurement and monitoring system using deep learning based on the Internet of Things.” which is an integration. The technology available today helps in monitoring and prevention. and develop an operating system that is flexible and allows quick access to information. This special project therefore brings the Internet of Things IoT system into use. To keep track of changing water levels It receives data through hardware devices and sends the received data to the cloud to record water level information and use it to analyze and predict areas at risk of flooding and drought. which leads to prevention and reduction of such impacts.
คำสำคัญภาษาอังกฤษ
Cloud system
IoT
management
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.เพื่อศึกษาเชิงลึกของสมองกลฝังตัวและอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง 2.เพื่อออกแบบระบบติดตามระดับน้ำที่อยู่บนพื้นฐานของระบบสมองกลฝังตัวและอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง 3. เพื่อเป็นส่วนช่วยในการพัฒนาระบบติดตามระดับน้ำ 4. เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงที่สะดวกมากขึ้นในการติดตามระดับน้ำ
ที่มาและความสำคัญ หรือ เหตุผลที่ทำโครงงานนี้
เทคโนโลยีไอโอที (Internet of Things , IOT) เป็นเครือข่ายอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อถึงกันผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถรับข้อมูลและส่งข้อมูลไปยังระบบคลาวด์ (Cloud) ได้ ไอโอทีจึงมีบทบาทสำคัญในการนำไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน หรือการประยุกต์ใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีไอโอทีมาใช้ใน “ระบบตรวจวัดและติดตามระดับน้ำด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึกบนพื้นฐานอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” จะช่วยให้สามารถรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำมาใช้เพื่อการติดตามระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลงโดยรับข้อมูลผ่านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และส่งข้อมูลที่ได้รับไปยังระบบคลาวด์ เพื่อบันทึกข้อมูลของระดับน้ำและนำไปไปแสดงผลในรูปแบบกราฟเพื่อการติดตามระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลง และเพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงข้อมูล อย่างที่ทราบดีว่าปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในทุก ๆ ปี ดังนั้น “ระบบตรวจวัดและติดตามระดับน้ำ” ในงานวิจัยนี้จึงจัดทำเพื่อเป็นการนำระบบไอโอทีมาประยุกต์ใช้ในการเก็บข้อมูลปริมาณน้ำไปยังระบบคลาวด์ เพื่อการแสดงผลข้อมูลที่ตรวจวัดได้ ซึ่งการประยุกต์ใช้ระบบไอโอทีทำให้การประมวลผลของข้อมูลรวดเร็วและทราบข้อมูล ณ ปัจจุบันอย่างทันท่วงที เพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมและน้ำแล้งที่อาจเกิดขึ้นได้
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงานนี้
1.ได้เรียนรู้ระบบไอโอทีและซอฟต์แวร์รวมไปถึงฮาร์ดแวร์ประมวลผล 2.ได้นำความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำโครงงานไปพัฒนาต่อยอดในอนาคต 3.ได้ทราบถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำและความสำคัญของการบริหารทรัพยากรน้ำ 4.ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น
Information
ประเภทโครงงาน
Smart City
ปีการศึกษา
2566
วันที่สร้าง
1 ตุลาคม 2566, 12:31
วันที่แก้ไขล่าสุด
8 พฤษภาคม 2567, 13:32
สร้างโดย
กมลภพ วงศ์ทุมมา (64125001@kmitl.ac.th)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีรูปภาพ
สมาชิกโครงงาน
G
นายกมลภพ วงศ์ทุมมา
เจ้าของโครงงาน
K
ดร.กิตติพล ก้านขุนทด
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
S
นายสิรภัทร แน่นหนา
สมาชิกโครงงาน