การพัฒนาผลิตภัณฑ์สแน็คผลไม้เสริมโพรไบโอติก
การพัฒนาผลิตภัณฑ์สแน็คผลไม้เสริมโพรไบโอติก
Industry 4.0
Accepted

ข้อมูลโครงงาน

ชื่อ (ภาษาไทย)
การพัฒนาผลิตภัณฑ์สแน็คผลไม้เสริมโพรไบโอติก
ชื่อ (ภาษาอังกฤษ)
Develoment of probiotic fruit snack
หน่วยงานที่ร่วมมือ / แหล่งทุนที่ได้รับมาสนับสนุน
-
สิ่งที่ต้องการได้รับการสนับสนุนจาก อ.ที่ปรึกษา/คณะ/สถาบัน
-
สิ่งที่ได้จากโครงงาน
บทความวิชาการ/งานวิจัย
บทคัดย่อภาษาไทย
โพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยปรับสมดุลลำไส้และระบบขับถ่าย ยับยั้งจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในระบบทางเดินอาหารและเสริมภูมิต้านทาน อาหารที่มีการเสริมจุลินทรีย์โพรไบโอติกจึงเป็นอาหารเพื่อสุขภาพหรืออาหารฟังก์ชั่นที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สแน็คผลไม้เสริมโพรไบโอติกที่นำมาเคลือบด้วยจุลินทรีย์โพรไบโอติกและผ่านกระบวนการทำแห้ง เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ยังคงคุณค่าทางโภชนาการ มีกลิ่นรสดี มีอัตราการอยู่รอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกสูง และสามารถเก็บไว้ได้เป็นระยะเวลานาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์สแน็คผลไม้เสริมโพรไบโอติกนี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบแล้ว ยังใช้เป็นอาหารทางเลือกที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพของผู้บริโภคให้ดียิ่งขึ้น
คำสำคัญภาษาไทย
สแน็คผลไม้, โพรไบโอติก, อาหารฟังก์ชั่น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Probiotics are microorganisms that are beneficial to our health. They modulate the balance of the intestines and digestive system, inhibit pathogens in the intestinal tract, and boost the overall immunity. Therefore, foods supplemented with probiotics are health foods or functional foods that are becoming popular for people who want to take care of their health. This research aims to develop a fruit snack product coated with the probiotic using drying technique. The snack fruit product retains its nutritional value, has a good aroma and with high survival rate of probiotics and long shelflife. The development of this probiotic-fortified fruit snack product will not only add value to the raw materials, but also used as an alternative food that helps promote consumer’s health.
คำสำคัญภาษาอังกฤษ
Fruit snack, Probiotics, Functional food
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารว่างทานเล่นหรือสแน็ค (snack) จากผลไม้เสริมจุลินทรีย์โพรไบโอติก
ที่มาและความสำคัญ หรือ เหตุผลที่ทำโครงงานนี้
ในปัจจุบันอาหารสุขภาพหรืออาหารฟังก์ชั่น (Functional Foods) กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากผู้คนให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของตนเองในชีวิตประจำวันมากขึ้น และมีความต้องการที่จะรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งอาหารฟังก์ชันคืออาหารที่ประกอบด้วยสารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ที่ไม่ได้มีเพียงคุณค่าทางโภชนาการพื้นฐาน เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอล (Cholesterol) เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และส่งเสริมสุขภาพทั่วไปของร่างกาย อาหารฟังก์ชั่นอาจมีหลายรูปแบบ เช่น อาหารที่มีการเสริมจุลินทรีย์โพรไบโอติก (Probiotics) ที่มีชีวิต ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่สามารถเจริญเติบโตได้ในระบบทางเดินอาหาร ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรคในลำไส้ ส่งเสริมสุขภาพของระบบย่อยอาหารและทางเดินอาหารให้แข็งแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ สังเคราะห์วิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย และทำหน้าที่คอยช่วยลดปริมาณของแบคทีเรียที่ไม่ดี เพิ่มแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ปรับสมดุลระบบภูมิคุ้มกัน และเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงมากขึ้น โครงการนี้จึงมีแนวคิดในการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพในรูปแบบของอาหารว่างทางเล่นหรือสแน็คจากผลไม้ ที่มีการเสริมจุลินทรีย์โพรไบโอติกด้วยเทคนิคการเคลือบจุลินทรีย์บนผิวผลไม้ ร่วมกับเทคนิคการทำแห้ง ผลิตภัณฑ์สแน็คผลไม้เสริมโพรไบโอติกที่ได้จึงมีคุณภาพสูง สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้เป็นระยะเวลานาน โดยที่คุณค่าทางโภชนาการ สารอาหาร และกลิ่นรสของผลิตภัณฑ์นั้นยังคงถูกรักษาไว้ได้อย่างดี ดังนั้นโครงการวิจัยนี้นอกจากจะเป็นการนำผลไม้มาแปรรูปเพื่อแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด และเพิ่มมูลค่าให้กับผลไม้หรือยกระดับราคาผลผลิตไม่ให้ตกต่ำแล้ว ยังเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพชนิดใหม่ ที่ทำให้คุณค่าทางโภชนาการหรือคุณสมบัติทางฟังก์ชั่นของผลิตภัณฑ์ดีขึ้น และเหมาะกับผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยอีกด้วย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงานนี้
1. ได้ผลิตภัณฑ์ของว่างทานเล่นหรือสแน็คผลไม้เสริมโพรไบโอติกที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีชีวิตที่ช่วยปรับสมดุลของลำไส้และระบบขับถ่าย และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคที่สนใจดูแลสุขภาพ 2. เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตผลทางการเกษตรของประเทศไทย ช่วยแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำ และช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ
Information
ประเภทโครงงาน
Industry 4.0
Tags
Cluster 2024
KMITL Expo 2024
ปีการศึกษา
2566
วันที่สร้าง
22 ธันวาคม 2566, 14:13
วันที่แก้ไขล่าสุด
1 มีนาคม 2567, 11:21
สร้างโดย
กัญญารัตน์ ศิริบุตร (63080087@kmitl.ac.th)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกโครงงาน
K
นางสาวกัญญารัตน์ ศิริบุตร
เจ้าของโครงงาน
S
ผศ.ดร.ทรงศักดิ์ วัฒนชัยเสรีกุล
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
K
นางสาวกมลชนก สุนันทพงศ์ศักดิ์
สมาชิกโครงงาน
D
นางสาวดวงกมล บรรลือทรัพย์
สมาชิกโครงงาน

หากพบปัญหาในการใช้งานสามารถติดต่อได้ที่ Line Official: @acadkmitl

2023 KMITL Innovation Project. | Version: 2.2.2