ผลกระทบของน้ำมันไบโอดีเซลต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อนและการลดปริมาณเขม่าควันดำจากรถยนต์ดีเซล
ผลกระทบของน้ำมันไบโอดีเซลต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อนและการลดปริมาณเขม่าควันดำจากรถยนต์ดีเซล
BCG (Bio-Circular-Green Economy)
Accepted

ข้อมูลโครงงาน

ชื่อ (ภาษาไทย)
ผลกระทบของน้ำมันไบโอดีเซลต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อนและการลดปริมาณเขม่าควันดำจากรถยนต์ดีเซล
ชื่อ (ภาษาอังกฤษ)
Impact of Biodiesel on Diesel Vehicle Thermal Efficiency and Soot Reduction
หน่วยงานที่ร่วมมือ / แหล่งทุนที่ได้รับมาสนับสนุน
กรมควบคุมมลพิษ(PCD)
สิ่งที่ต้องการได้รับการสนับสนุนจาก อ.ที่ปรึกษา/คณะ/สถาบัน
คำปรึกษาเเละข้อเสนอเเนะจากอาจารย์
สิ่งที่ได้จากโครงงาน
บทความวิชาการ/งานวิจัย
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อนเบรก (Brake thermal efficiency) และการลดเขม่าที่เกิดขึ้นจากการสันดาปของเครื่องยนต์ดีเซล จากการใช้น้ำมันไบโอดีเซล B100 เมื่อเทียบกับน้ำมันดีเซลมาตรฐาน B7 เพื่อเป็นการลดปัญหามลภาวะทางอากาศที่เกิดจาก PM2.5 และลดปัญหาภาวะเรือนประจก (Greenhouse effect) การใช้พลังงานทางเลือกจากเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากพืชช่วยลดปัญหาโลกร้อนจากกระบวนการเติบโตของต้นปาล์มที่สามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการสังเคราะห์ด้วยเเสง (Photosynthesis) โดยจากการศึกษาพบว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันไบโอดีเซล B100 มีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะเบรก (Brake specific fuel consumption) ที่มากกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลมาตรฐาน B7 เนื่องจากเชื้อเพลิงไบโอดีเซล B100 มีค่าความร้อน (Heating value) ที่ต่ำกว่าน้ำมันดีเซลมาตรฐาน อย่างไรก็ตามรถยนต์ที่ใช้น้ำมันไบโอดีเซล B100 มีอัตราการใช้พลังงานจำเพาะเบรก (Brake specific energy consumption) และประสิทธิภาพเชิงความร้อนเบรก (Brake thermal efficiency) ที่ใกล้เคียงกันกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลมาตรฐาน B7 นอกเหนือจากนั้นยังพบว่าการใช้น้ำมันไบโอดีเซล B100 สามารถลดเขม่าที่เกิดขึ้นจากการสันดาปของเครื่องยนต์ได้เนื่องจากอะตอมของออกชิเจนในโมเลกุลของไบโอดีเซลช่วยให้เกิดการเผาไหม้ที่มีปริมาณเขม่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญประมาณร้อยละ 50
คำสำคัญภาษาไทย
ไบโอดีเซล
อนุภาคฝุ่น
ประสิทธิภาพเชิงความร้อนเบรก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objective of this research is to study the effect on brake thermal efficiency and the reduction of soot generated from the combustion of diesel engines. By using biodiesel B100 compared to standard diesel B7 in order to reduce air pollution problems caused by PM2.5 and the greenhouse effect problem, using alternative energy from biofuels produced from plants helps reduce global warming problems from the growing process of palm trees, which can reduce the amount of carbon dioxide through photosynthesis. The study found that cars using B100 biodiesel have a higher brake specific fuel consumption than cars using standard B7 diesel because B100 biodiesel has a lower heating value than standard diesel fuel. However, cars using B100 biodiesel have brake specific energy consumption and brake thermal efficiency that are similar to those of cars using standard B7 diesel. It was also found that using B100 biodiesel can reduce soot caused by engine combustion. This is because the oxygen atoms in the biodiesel molecule contribute to more complete combustion. The amount of soot was greatly reduced by approximately 50 percent.
คำสำคัญภาษาอังกฤษ
Biodiesel
Particulate matter
Brake thermal efficiency
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้น้ำมันไบโอดีเซล B100 ต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อนเบรก (Brake thermal efficiency) และการลดปริมาณเขม่าควันดำในรถยนต์ดีเซลเมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันดีเซล B7
ที่มาและความสำคัญ หรือ เหตุผลที่ทำโครงงานนี้
แหล่งพลังงานส่วนใหญ่ที่ใช้ในปัจจุบันนั้นเป็นพลังงานที่มาจากการเผาไหม้ (Combustion) ของเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil fuels) เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon compounds) การเผาไหม้ของไฮโดรคาร์บอนก่อให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) ซึ่งส่งผลให้เกิดสภาวะเรือนกระจก (Greenhouse effect) การใช้พลังงานทางเลือกจากเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากพืชช่วยลดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) นอกจากนี้การเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ไม่สมบูรณ์ก็ทำให้เกิดเขม่าที่เป็นต้นเหตุของมลภาวะทางอากาศในเมืองใหญ่ การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพสามารถช่วยลดปัญหามลภาวะทางอากาศได้จากการเผาไหม้ที่สมบูรณ์กว่าการใช้น้ำมันดีเซลมาตรฐาน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงานนี้
ได้เรียนรู้และสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้ามาพัฒนาวิธีการลดเขม่าในรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล
Information
ประเภทโครงงาน
BCG (Bio-Circular-Green Economy)
Tags
KLLC 2024
KMITL Expo 2024
ปีการศึกษา
2566
วันที่สร้าง
15 มกราคม 2567, 06:04
วันที่แก้ไขล่าสุด
16 กุมภาพันธ์ 2567, 05:49
สร้างโดย
ธัญญะ งามประเสริฐโสภณ (63010456@kmitl.ac.th)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีรูปภาพ
สมาชิกโครงงาน
T
นายธัญญะ งามประเสริฐโสภณ
เจ้าของโครงงาน
P
รศ.ดร.ปรีชา การินทร์
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
N
นายณภัทร ปาละวัธนะกุล
สมาชิกโครงงาน
S
นายสรวิศ มลวิสัย
สมาชิกโครงงาน

หากพบปัญหาในการใช้งานสามารถติดต่อได้ที่ Line Official: @acadkmitl

2023 KMITL Innovation Project. | Version: 2.2.2