thumbnail

การศึกษาและการออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน

BCG (Bio-Circular-Green Economy)
Accepted

ข้อมูลโครงงาน
ชื่อ (ภาษาไทย)
การศึกษาและการออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน
ชื่อ (ภาษาอังกฤษ)
STUDY AND DESIGN PRODUCTS FROM WASTE MATERIALS
หน่วยงานที่ร่วมมือ / แหล่งทุนที่ได้รับมาสนับสนุน
Precious Plastic Bangkok โครงการรีไซเคิลพลาสติกที่เน้นชุมชนเป็นศูนย์กลาง (กรณีศึกษา)
สิ่งที่ต้องการได้รับการสนับสนุนจาก อ.ที่ปรึกษา/คณะ/สถาบัน
คำแนะนำต่อยอดนำไปปรับปรุงในอนาคตได้
สิ่งที่ได้จากโครงงาน
ชิ้นงาน, บทความวิชาการ/งานวิจัย
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานและ หาความพึงพอใจจากผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ให้ข้อมูล 3 จํานวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือทิ้งจาก โรงงานจํานวน 3 ท่าน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และ ผู้บริโภคที่มีความสนใจต่อผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน โดยกําหนดกลุ่มผู้บริโภคช่วง Gen Y ที่มีช่วงอายุระหว่าง 25 - 40 ปี โดยการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างที่ประกอบไปด้วยข้อมูลทั่วไป ของผู้ถูกสัมภาษณ์ ข้อคําถามและ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม แบบสอบถามเพื่อประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ประกอบไปด้วยข้อมูลทั่วไป ของผู้เชี่ยวชาญ ข้อคําถามเพื่อประเมินผลิตภัณฑ์ 5 ระดับ และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม และแบบสอบถามเพื่อประเมินความสนใจต่อผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน ประกอบไปด้วยข้อคําถามเพื่อประเมินผลิตภัณฑ์ 5 ระดับ และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ผลการวิจัยพบว่าผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน นําเอาเศษวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน การผลิตพลาสติก เพื่อนํามาออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน เน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยการคํานึงถึงวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานเป็นหลัก จาก การประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือใช้ ทั้ง 3 รูปแบบผู้เชี่ยวชาญได้ให้ผลการประเมินความเหมาะสมเป็นไปในทิศทางที่ เหมาะสมมากที่สุด โดยการร่างแบบเลือกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือทิ้ง นํามา พัฒนารูปแบบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ให้มากยิ่งขึ้น และผู้วิจัยได้นําผลการวิเคราะห์ข้อมูลจาก ผู้เชี่ยวชาญมาพัฒนาแบบเพื่อไปสู่การผลิต จากการประเมินความพึงพอใจจากผู้บริโภคที่มีต่อ ผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน พบว่าผลประเมินโดยภาพรวมสูงที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥=̅ 4.56) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=0.49) แสดงให้เห็นว่าแนวคิดทางการออกแบบ ผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้เป็นไปตาม หลักการและแนวคิดด้านการออกแบบวัสดุเหลือทิ้ง
คำสำคัญภาษาไทย
เศษวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน
คุณสมบัติ
การออกแบบ
ผลิตภัณฑ์
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research is a study of waste material products from factories and Find satisfaction from consumers with waste material products from factories. The population and sample group included 3 informants, 3 experts in waste material products from factories by specific selection methods, and consumers who are interested in material productsLeftover from the factory By determining the group of consumers in Gen Y between the ages of 25 - 40 years by random sampling (Accidental Sampling). Tools used in the research include: Semi-structured interview with general information of the interviewee, additional questions and suggestions Questionnaire to evaluate product formatthat consists of general information of experts Questions for product evaluation at 5 levels and additional suggestions and a questionnaire to assess interest in waste material products from the factory. It consists of 5 levels of product evaluation questions and additional suggestions The results of the research found that waste material products from the factory Take waste materials from the factory. Plastic production for use in designing waste material products from the factory. Focus on product design by taking into account waste materials from the factory as the main focus. From the evaluation of all 3 waste material product formats, experts have provided the results of the suitability assessmentin the direction most suitable By drafting a design selection by experts in waste material product design, developing the design to be more consistent with the objectives. and the researcher has used the results of data analysis from Experts come to develop designs for production. From the assessment of satisfaction from consumers who haveper waste material product from the factory It was found that the overall evaluation results were the highest, with the overall average being at the highest level(𝑥=̅ 4.56), standard deviation (S.D.=0.49) shows that the design concept Waste material products from the factory can meet the needs of users according to Principles and concepts of Design waste materials
คำสำคัญภาษาอังกฤษ
Factory waste
features
design
products
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1 เพื่อศึกษาคุณสมบัติวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน 2 เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน 3 เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน
ที่มาและความสำคัญ หรือ เหตุผลที่ทำโครงงานนี้
ประเทศไทย เป็นหนึ่งในฐานการผลิตพลาสติกที่สําคัญของโลก มีมูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมโดยรวมอยู่ที่ 1.0 ล้าน ล้านบาท ปัจจัยสําคัญมาจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยมีขนาดใหญ่และมีศักยภาพการผลิตค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศ ในอาเซียน จึงช่วยเพิ่มจุดแข็งและความสามารถในการแข่งขันให้แก่อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปลายน้ําของ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อีกทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่ของไทยมีความพร้อมในการวิจัยและพัฒนาประสิทธิภาพของเม็ดพลาสติก เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทําให้ไทยสามารถผลิตเม็ดพลาสติกเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม ต่อเนื่องได้หลากหลายทั้งด้านคุณภาพและราคา โดยปี 2562 ไทยสามารถผลิตเม็ดพลาสติกได้สูงถึง 9.0 ล้านตัน และนําเข้าเพียง 2.2 ล้านตัน เม็ดพลาสติกสัดส่วน 56% จะถูกส่งออกไปตลาดต่างประเทศ (ไทยเป็นผู้ส่งออกเม็ดพลาสติกอันดับที่ 11 ของโลก และอันดับ 2 ในอาเซียน รองจากสิงคโปร์) และ 44% ถูกนํามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเนื่องใน ประเทศ อาทิ ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และก่อสร้าง อุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์พลาสติก (Plastics converter) ของไทยจึงมีห่วงโซ่การผลิตที่ครอบคลุมทั้งวัตถุดิบต้นน้ํา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ก๊าซธรรมชาติในประเทศ อุตสาหกรรม กลางน้ํา ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี (ผลิตเม็ดพลาสติก) และอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกในประเทศมีจํานวนมากกว่า 2,800 ราย ประมาณ 87% เป็น ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) และ 13% เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ เนื่องจากการเข้าสู่ธุรกิจทําได้ไม่ยาก ใช้เงิน ลงทุนไม่มาก และเทคโนโลยีการแปรรูปฯ ยังอยู่ในระดับพื้นฐานและระดับกลาง ส่วนใหญ่เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้งาน ทั่วไป (Commodity product) ภาวะการแข่งขันของธุรกิจจึงค่อนข้างรุนแรงและมีอัตรากําไรต่อหน่วย (Margin) ไม่สูงนัก ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยมีสัดส่วนคิดเป็น 83.5% ของจํานวนผู้ประกอบการทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ผู้ประกอบการสัญชาติญี่ปุ่น (7.5%) และจีน (1.2%) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่กระจุกตัวในภาคกลาง (81.5% ของจํานวนผู้ประกอบการทั้งหมด) โดยเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล สมุทรปราการ และสมุทรสาคร รองลงมา คือ ภาคตะวันออก (11.4%) และภาคอีสาน (3.1%) อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยเน้นผลิตเพื่อสนับสนุนตลาดในประเทศ มีสัดส่วน 80% ของมูลค่า ตลาด แบ่งเป็น (1) ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน ถุงและหลอดพลาสติก และ (2) ใช้ใน อุตสาหกรรมต่อเนื่อง (End-use industries) ประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ บรรจุภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ก่อสร้าง ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ ด้านตลาดส่งออกมีสัดส่วน 20% ของมูลค่า ตลาด ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกเกรดทั่วไป (Commodity product) ซึ่งมีมูลค่าต่อหน่วยต่ํา อาทิ บรรจุภัณฑ์พลาสติก (มูลค่าส่งออกมีสัดส่วนสูงที่สุด) แผ่นฟิล์มชนิด Non-cellular และ Cellular โดยมีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ อาเซียน (สัดส่วน 30.7% ของมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก) ญี่ปุ่น (19.2%) และสหรัฐฯ (12.5%) ด้านการนําเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก อาทิ บรรจุภัณฑ์ (สัดส่วน 16% ของมูลค่านําเข้ารวม) แผ่นฟิล์มชนิด Non-cellular (14.4%) และแผ่นฟิล์มชนิด Self-adhesive (10.3%) แหล่งนําเข้าหลัก ได้แก่ จีน (สัดส่วน 36.3% ของมูลค่านําเข้าทั้งหมด) ญี่ปุ่น (21.6%) และอาเซียน (14.7%) จากความสําคัญและปัญหานั้นทําให้ผู้วิจัยเห็นว่าการศึกษาและการออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน จึงมีแนวคิดใน การศึกษา การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งเพื่อมาออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่ตอบสนองการแก้ปัญหาข้างต้นที่กล่าวมา และมีส่วนช่วย ทําให้ปัญหาที่สําคัญอย่างหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมปัจจุบันคือ ปัญหาขยะลดปริมาณลง ลดการสร้างมลพิษเเก่โลก และ ยังนํากลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า แทนที่จะถูกทิ้งแล้วนําไปกําจัด และนอกจากช่วยลดปริมาณขยะลงได้แล้ว ยังช่วยลด ปริมาณการใช้ทรัพยากร ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ด้วยพร้อมทั้งยังเพื่อเพิ่มมูลค่าที่เพิ่มขึ้น นําไปสู่ กระบวนการในการออกแบบผลิตภัณฑ์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงานนี้
เพื่อศึกษาคุณสมบัติวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน พบว่า จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ ได้รายงานว่า ในปี 2565 มีขยะปริมาณ 25.70 ล้านตัน ซึ่งมีเพียง 8.80 ล้านตันเท่านั้นที่ถูกนํากลับมา ใช้ใหม่ แม้ที่เหลือจะถูกนําไปกําจัด แต่ก็มีขยะอีกบางส่วนที่กําจัดอย่างไม่ถูกต้องและตกค้างอยู่ในระบบ ซึ่งสร้างปัญหาทางสิ่งแวดล้อมตามมามากมาย ตอนนี้หลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน จึงได้ร่วมกันหาทางออกสําหรับปัญหานี้ หนึ่งในนั้นก็คือการคัดแยกขยะตั้งแต่ ต้นทางให้ถูกต้องเพื่อนํากลับเข้าไปสู่กระบวนการรีไซเคิล ทั่วโลกเริ่มหันมาสนใจกับการแปรรูปขยะ เป็นวัสดุทดแทน ผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน ซึ่งนอกจากจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มีความสอดคล้องกับงานวิจัยลดการสร้างขยะด้วยแนวคิด 3R
Information
ประเภทโครงงาน
BCG (Bio-Circular-Green Economy)
ปีการศึกษา
2567
วันที่สร้าง
28 เมษายน 2567, 21:43
วันที่แก้ไขล่าสุด
29 เมษายน 2567, 05:41
สร้างโดย
พรภิรมย์ ตวนบุตร (64030126@kmitl.ac.th)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีรูปภาพ
สมาชิกโครงงาน
P
นางสาวพรภิรมย์ ตวนบุตร
เจ้าของโครงงาน
C
รศ.ดร.จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
S
ผศ.ดร.สุธาสินีน์ บุรีคำพันธุ์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม