thumbnail

การศึกษาและออกแบบสื่อการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์

Digital Technology
Accepted

ข้อมูลโครงงาน
ชื่อ (ภาษาไทย)
การศึกษาและออกแบบสื่อการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์
ชื่อ (ภาษาอังกฤษ)
STUDY AND DESIGN COMIC BOOK TO CONSERVATION OF ENDDANGERED WILDLIFE SPECIES
หน่วยงานที่ร่วมมือ / แหล่งทุนที่ได้รับมาสนับสนุน
-
สิ่งที่ต้องการได้รับการสนับสนุนจาก อ.ที่ปรึกษา/คณะ/สถาบัน
-
สิ่งที่ได้จากโครงงาน
สื่อมัลติมีเดีย
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ1.เพื่อศึกษารูปแบบสื่อการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์2.เพื่อออกแบบสื่อการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์3.เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อสื่อการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ โดยประชากรกลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญประเมินเนื้อหา 3 ท่าน แบบประเมินกราฟฟิก 3 ท่าน โดยกลุ่มผู้บริโภคของหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ คือ นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในการประเมินความพึงพอใจคือแบบประเมินความพึงพอใจ โดยมีผู้บริโภคจำนวน 32 คน ผลออกมาว่าการใช้ภาษามีคะแนนความเหมาะสมมีความเหมาะสมมากที่สุดค่าเฉลี่ย (x ̅=4.59) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคือ (S.D.=0.58) อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุดเป็นด้านของเนื้อหา สรุปรูปแบบของสื่อการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากที่สุดโดยข้อเสนอแนะคือ อยากให้เพิ่มอาจเพิ่มตัวละครในหน้าปกนั้นมีเพิ่มมากขึ้น
คำสำคัญภาษาไทย
สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์
หนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research has the objective namely 1. to study the format of the electronic cartoon media on the topic of conservation of endangered wildlife 2. to design the electronic cartoon media on the topic of conservation of endangered wildlife 3. to evaluate consumer satisfaction with the electronic cartoon media on the topic Conservation of endangered wildlife The sample population consisted of 3 experts evaluating the content, 3 people evaluating the graphics. The consumer group of the electronic comic book on conservation of endangered wildlife was students studying at King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang and the tools used in research in Satisfaction assessment is a satisfaction assessment. There were 32 consumers. The results showed that the use of language had the most appropriate score, the mean (x ̅=4.59) and the standard deviation (S.D.=0.58) were at the most satisfying level. side of content Summary of the format of electronic cartoon media on the topic of conservation of endangered wildlife, most of them were most satisfied with the suggestions being I would like to add more characters to the cover.
คำสำคัญภาษาอังกฤษ
wildlife
endangered wildlife
electronic cartoon media
CONSERVATION OF ENDDANGERED
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.เพื่อศึกษารูปแบบสื่อการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ 2.เพื่อออกแบบสื่อการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ 3.เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อสื่อการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์
ที่มาและความสำคัญ หรือ เหตุผลที่ทำโครงงานนี้
ในยุคปัจจุบันที่เกิดการล่าสัตว์ป่าสงวนขึ้นจากมนุษย์มาระยะเวลาที่ยาวนานเกิดจากความต้องการของมนุษย์เพื่อประโยชน์ เช่น นำมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม นำมาประกอบอาหาร หรือจะเป็นการนำมาทำของตกแต่งภายในครัวเรือน เพราะฉะนั้นจึงเกิดการล่าสัตว์ป่าสงวนเพิ่มขึ้นเนื่องจากป่าที่ถูกอนุรักษ์ในปี พ.ศ. 2563-2564 เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน 6,106.69 ไร่ มีอัตราการบุกรุกเพิ่มเป็น 18,489.99 ไร่ (กรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.2562) ซึ่งส่งผลกระทบต่อสัตว์สงวนที่อาศัยอยู่ภายในพื้นที่ของป่าถึงแม่จะมีพระราชบัญญัติเพื่อออกกฎหมายเพื่อลดการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนหรือการออกล่าสัตว์ใกล้สูญพันธุ์แต่ก็ยังมีกลุ่มคนบางส่วนยังคงออกล่าสัตว์เพื่อทำผลิตภัณฑ์จากสัตว์ สัตว์ป่าในประเทศไทยส่วนใหญ่นั้นเกิดการลดลงและสาเหตุสำคัญในการลดลงของสัตว์ส่วนใหญ่คือการล่าหรือค้าสัตว์ป่าสงวนภายในปี 2554-2559 (กรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.2562) ซึ่งในปี พ.ศ.2562 นั้นเกิดการลักลอบค้าสัตว์ป่านำเข้าและส่งออกมากถึง 78 คดีเมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2561-ที่มีเพียง 68 คดี (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.2564) ในปัจจุบันได้เกิดเทคโนโลยีต่างๆมากมาย ในยุคปัจจุบันนั้นได้มีหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ จึงทำให้เข้าถึงได้ง่ายเพราะเป็นสื่อออนไลน์ที่สามารถพกพาหรือไปไหนมาไหนได้ผ่านสมาร์ทโฟน ไม่ว่าจะเป็นตอนเดินทางหรือจะเป็นเวลาที่ออกไปข้างนอกก็สามารถพกติดตัวและสะดวกสบายในการอ่านหรือเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วทันที สำหรับประเทศไทยมีการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่องและมีการอ่านหนังสือภายในประเทศไทยในปี พ.ศ.2561 มีค่าเฉลี่ยในการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น 80 นาทีต่อวัน ซึ่งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีเพิ่มและมากถึง 75.4% (อนุชิต ไกรวิจิตร.2562) อีกทั้งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้นมีความสะดวกสบายในการอ่านและยังไม่เป็นทรัพยากรที่ทิ้งขว้างเหมือนหนังสือทั่วๆไป จากความเป็นมาและความสำคัญที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงปัญหาการล่าของสัตว์ป่าสงวนหรือการลดลงของสัตว์ป่าสงวนของประเทศไทยในยุคปัจจุบัน เพื่อสะท้อนปัญหาของการเข้าถึงข้อมูลของสัตว์ป่าสงวนที่คนในสังคมเข้าถึงได้ยาก ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะออกแบบสื่อการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ที่มีความเข้าถึงยากและในปัจจุบันและได้มีเทคโนโลยีสื่อออนไลน์ต่างๆนั้นเข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนไทยมากขึ้น ซึ่งสื่อที่น่าสนใจในยุคปัจจุบันนั่นคือสื่อหนังสือ หรือ หนังสือการ์ตูนเพราะมีการเข้าถึงได้ง่ายมีภาพหรือลวดลายที่เข้าใจง่ายมีความสนุกสนานหรือบางเล่มอาจสอดแทรกความรู้ผ่านความสนุกในหนังสือได้อีกด้วย ฉะนั้นสื่อการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้บุคคลในยุคปัจจุบันเกิดความสนใจและตระหนักถึงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นจากเดิมและเกิดการลดลงของการล่าสัตว์สงวนในประเทศไทย จำเป็นต้องทำสื่อหรือหนังสือการ์ตูนออนไลน์เพื่อดึงดูดให้ความรู้แก่ผู้คนในสังคมกระตุ้นให้สังคมกลับมาสนใจและตระหนักรู้ถึงสัตว์สงวนอีกครั้ง
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงานนี้
1.ได้ทราบและเข้าใจเกี่ยวกับความเข้าใจของผู้อ่านสื่อการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ 2.ได้รูปแบบสื่อการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์การศึกษาสื่อการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ 3.ได้ทราบความพึงพอใจในการอ่าน สนุก และเพลิดเพลินต่อสื่อการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์
Information
ประเภทโครงงาน
Digital Technology
ปีการศึกษา
2567
วันที่สร้าง
29 เมษายน 2567, 07:52
วันที่แก้ไขล่าสุด
29 เมษายน 2567, 10:05
สร้างโดย
อิมพิรา แว่นศิลา (64030326@kmitl.ac.th)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีรูปภาพ
สมาชิกโครงงาน
I
นางสาวอิมพิรา แว่นศิลา
เจ้าของโครงงาน
A
ดร.อฏฐม สาริบุตร
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก